วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ
ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน
3 เดือน เพื่อรวบรวมเรียบเรียงคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่
และแบ่งกันทรงจำสืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกบาลี
เป็นแม่บทคำสอนที่ชาวพุทธเถรวาทให้ความเคารพศึกษา
เป็นกรอบคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท
มีข้อสังเกตเรื่องคำสอนที่ชาวพุทธเถรวาทเราควรตระหนักรู้ก็คือ
1.
แม้พระอรหันต์
500 รูปก็ยังมีความเห็นในประเด็นพระธรรมวินัยบางข้อไม่ตรงกัน
ในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค
ปัญจสติกขันธกะ ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทเล็กน้อย (
พระไตรปิฎกแปลฉบับ มจร. เล่ม 7 ข้อ 441 หน้า 382 ) ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ 1
พระอานนท์ได้กล่าวกับพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
“ ในเวลาจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า อานนท์ เมื่อเราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ”
พระอรหันต์ทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่า ‘ พระพุทธเจ้าข้า
สิกขาบทข้อไหนที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
ท่านพระอานนท์ตอบ “ ท่านผู้เจริญ
กระผมไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ พระพุทธเจ้าข้า
สิกขาบทข้อไหน ที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก 4 สิกขาบท สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก
4 สิกขาบท สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท อนิยต 2 ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก
4 สิกขาบท สังฆาทิเสส
13 สิกขาบท อนิยต 2 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30
สิกขาบท ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ ยกเว้นปาราชิก
4 สิกขาบท สังฆาทิเสส
13 สิกขาบท อนิยต 2 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30
สิกขาบท ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท ปาฏิเทสนียะ 4 สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ”
เมื่อพระอรหันต์ทั้งหลายมีความเห็นไม่ตรงกัน
สุดท้ายพระมหากัสสปะจึงเสนอ ญัตติว่า จะไม่เพิกถอนสิกขาบทข้อใดๆ
และได้รับการรับรองจากพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นเอกฉันท์
ลองคิดดูว่าหากพระอรหันต์แต่ละกลุ่มยืนกรานความเห็นของตน
ไม่ยอมรับความเห็นต่างของพระอรหันต์กลุ่มอื่น คณะสงฆ์ก็มีโอกาสแตกออกเป็น 5
กลุ่มตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว
ระดับพระอรหันต์และไม่ใช่พระอรหันต์ธรรมดา
แต่เป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการคัดเลือกมาทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกให้เราศึกษาในปัจจุบัน
มีพระอสีติมหาสาวกหลายรูป อาทิ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี พระอานนท์ เป็นต้น
ก็ยังมีความเห็นบางประเด็นไม่ตรงกัน แล้วชาวพุทธปัจจุบันที่ยืนกรานความเห็นของตนหรือเชื่อตามความเห็นของพระภิกษุนักวิชาการบางรูปว่าถูกต้อง
ปฏิเสธและโจมตีผู้ที่เห็นต่างจากตนอย่างรุนแรง
ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญาหรือยัง เก่งกว่าพระอสีติมหาสาวกหรือเปล่า
การโจมตีผู้เห็นต่างจากตนมีแต่จะนำมาซึ่งความแตกแยกในหมู่ชาวพุทธ ผิดแนวทางปฏิปทาของพระอรหันต์ทั้งหลายในอดีต
2.
การศึกษาและเผยแผ่ธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมีคำสอนหลายระดับ
พระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกเป็นแม่บทคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท
- มีคัมภีร์อรรถกถาเรียบเรียงโดยพระอรรถกถาจารย์ในยุคหลังพุทธกาลราว
900 ปีเศษ เป็นคู่มืออธิบายทำความเข้าใจพระไตรปิฎก
- มีคัมภีร์ฎีกาเป็นคู่มืออธิบายเนื้อหาในคัมภีร์อรรถกถาหรืออธิบายพระไตรปิฎกบางครั้งอธิบายในแง่มุมที่แย้งกับที่คัมภีร์อรรถกถาอธิบายไว้
- มีคัมภีร์อนุฎีกา เป็นคู่มืออธิบายเนื้อหาในคัมภีร์ฎีกาหรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถาหรืออธิบายพระไตรปิฎก
- มีคำสอนของพระเถระทั้งในรูปคำเทศน์สอน หรือเขียนเป็นหนังสือธรรมะ
อธิบายขยายความคำสอนในพระพุทธศาสนาให้เราเข้าใจได้ดีขึ้น เช่น คำสอนของท่านพุทธทาส
หลวงปู่ หลวงตา พระเถระต่างๆ หรือแม้ฆราวาสบางท่านที่มีความรู้ดี
มีบางคนคิดว่าคำสอนที่ถูกต้องจะต้องเป็นคำสอนที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเท่านั้น
ผู้ที่มีความเห็นเช่นนี้ จะนำไปสู่แนวโน้มที่จะปฏิเสธคำสอนระดับอื่นๆทั้งหมดเริ่มตั้งแต่ปฏิเสธคำเทศนาธรรมของพระเถระ ปฏิเสธอนุฎีกา ปฏิเสธฎีกา ปฏิเสธอรรถกถา และเลยเถิดไปจนถึงปฏิเสธเนื้อหาพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นคำกล่าวของพระอรหันต์เช่น
พระสารีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น ยอมรับเฉพาะพุทธวจนะเท่านั้น
และยังมีแนวโน้มจะปฏิเสธแม้พุทธวจนะในส่วนที่ไม่ตรงกับความเชื่อของตน
เช่นส่วนที่มีการกล่าวถึง นรก สวรรค์ ที่เป็นภพภูมิ เทวดา นางฟ้า ยักษ์ เป็นต้น
หากทำตามความเชื่อของคนกลุ่มนี้
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะทำได้โดยนำพระไตรปิฎกมาอ่านให้ฟัง ห้ามอธิบายเพิ่มเติมตามความเห็นของตน
ซึ่งถ้าทำอย่างนั้นจริงพระพุทธศาสนาคงสาบสูญไปจากโลกนี้นานแล้ว
เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่อง
ความจริงการจะวินิจฉัยว่าคำสอนใดถูกต้องเป็นประโยชน์หรือไม่ต้องดูที่ความสอดคล้องกับหลักคำสอนในพระไตรปิฎก
ไม่ใช่ดูที่ว่าต้องมีอยู่ในพระไตรปิฎก
คำสอนของพระเถระทั้งหลายแม้ไม่ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
แต่หากสอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎก คำสอนนั้นก็เป็นคำสอนที่ดี มีประโยชน์
ควรศึกษา
ดังนั้นคำสอนของพระเถระทั้งหลายที่เทศนาสั่งสอนประชาชนมาแต่โบราณกาล เขียนหนังสือธรรมะอธิบายหลักธรรมให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ
คือสิ่งดีมีประโยชน์
เปรียบเหมือนกฎหมาย รัฐธรรมนูญ คือ
กฎหมายแม่บท แต่การวินิจฉัยว่ากฎหมายต่างๆถูกต้องหรือไม่
ไม่ใช่ใช้วิธีดูว่าเนื้อหาในกฎหมายเหล่านั้นมีในรัฐธรรมนูญหรือไม่
แต่ให้ดูเพียงว่าเนื้อหาของกฎหมายนั้นไม่ขัดรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นกฎหมายที่ใช้ได้
3. คำสอนในพระไตรปิฎกส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
ในส่วนเนื้อหาหลักธรรมเช่นอริยมรรคมีองค์ 8 มักกล่าวไว้เพียงสั้นๆ
เช่นสัมมาสมาธิเกือบทั้งหมดก็กล่าวไว้เพียงว่า หมายถึง รูปฌาน 4
แต่ไม่มีการอธิบายว่าจะฝึกให้ได้รูปฌาน 4 ต้องปฏิบัติอย่างไร
สายปฏิบัติใหญ่ๆในประเทศไทย
ล้วนอิงหลักการจากพระไตรปิฎกแล้วมาอธิบายขยายความเพิ่มเติมถึงวิธีการปฏิบัติเองทั้งสิ้น
อาทิ
สายสัมมาอะระหัง อิงหลักสติปัฏฐาน 4 จากพระไตรปิฎก คือ การตามเห็นกายในกาย
ตามเห็นเวทนาในเวทนา ตามเห็นจิตในจิต ตามเห็นธรรมในธรรม แต่ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีการกล่าวถึงกายภายในที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ
จนถึงธรรมกาย
สายพองหนอยุบหนอ อิงหลักสติปัฏฐาน 4 เช่นเดียวกัน แต่ในพระไตรปิฎกไม่มีการกล่าวถึงการก้าวหนอ
ยกหนอ เหยียบหนอใดๆเลย
สายพุทโธ อิงหลักอานาปานสติ จากพระไตรปิฎก แต่วิธีการปฏิบัติที่สอนกันอยู่ก็ไม่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
หากจะเอาเฉพาะคำสอนที่มีในพระไตรปิฎกเท่านั้น
ก็ต้องเลิกการปฏิบัติธรรมทุกสายในประเทศไทยทั้งหมด
ซึ่งมีแต่นำความเสื่อมมาสู่พระพุทธศาสนาและสังคมไทย
โดยสรุป หลักการวินิจฉัยคำสอนที่ดี คือ ดูความสอดคล้องกับหลักการในพระไตรปิฎก
ไม่ใช่การดูว่าคำสอนนั้นมีในพระไตรปิฎกหรือไม่
และอย่าเอาความเห็นความเชื่อของตนไปโจมตีผู้ที่เห็นต่าง เพราะแม้แต่พระอรหันต์ 500 รูป
ที่เป็นผู้รวบรวมเรียบเรียงคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎกให้เราศึกษา ก็ยังมีความเห็นในบางประเด็นที่ต่างกัน
ถ้าเป็นคำสอนไปในทางอกุศล เช่น สอนให้ดื่มเหล้า จมในอบายมุข
อย่างนี้ผิดกับหลักการในพระไตรปิฎกชัดเจน
เป็นคำสอนที่ผิด แต่ถ้าเป็นประเด็นคำสอนที่เป็นไปในทางกุศล
เช่น คำสอนด้านธรรมปฏิบัติ
ที่อาจตีความได้หลายแง่มุม
ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตน
อย่างนี้ไม่ควรจะยึดมั่นในความคิดของตนแล้วโจมตีผู้ที่เห็นต่าง ตั้งใจปฏิบัติแบบที่ตนเชื่อและชอบไปดีกว่า
โดยรวม คำสอนที่สอนให้ละชั่ว ทำความดี
ทำใจให้ผ่องใส สอนให้ประชาชนรักการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา คือคำสอนที่ดี สอดคล้องกับหลักการในพระไตรปิฎก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น