วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เรามาช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่คู่แผ่นดินนี้ตราบนานเท่านาน
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า
วัฒนธรรมมีส่วนช่วยสร้างชาติ            พัฒนาราษฎร์เรื่องธรรมลํ้าค่าผล
วัฒนธรรมนำไทยไม่อับจน                  ค่ามากล้นดลไทยให้เจริญ

ในปัจจุบันการส่งข้อมูลข่าวสารสะดวกรวดเร็วมาก เพราะว่ามี social media เป็นสื่อกลางในการส่งสาร แต่ว่าจะมีสักกี่คนที่ใช้ข้อดีตรงจุดนี้ในการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารหรือกิจกรรมที่เป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยของเราบ้าง

ในช่วงวันออกพรรษา (ปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๗ ตุลาคม) ของแต่ละจังหวัด แต่ละท้องที่ก็จัดงานเพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งประเพณีที่สำคัญและมักจัดกันทุก ๆ จังหวัดในเทศกาลงานออกพรรษานี้ก็คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ
คำว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก คือ วันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่ไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา
ครั้นออกพรรษาแล้วได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับมายังโลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสนคร    ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑




ในวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงมานั้น ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีสว่างไสวเรืองรองไปทั่ว 
และด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธองค์ทำให้ชาวสวรรค์ มนุษย์ สัตว์นรก ได้เห็นกันหมดด้วยตาเนื้อ

เมื่อได้เห็นความอัศจรรย์นั้นต่างเกิดมหาปีติ พากันตั้งความปรารถนาที่จะเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้ากันอย่างมากมาย แม้แต่มดซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานยังมีความรู้สึกนึกคิดปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าด้วย เหล่าพญานาคที่ได้เห็นความอัศจรรย์นี้เพื่อเป็นการระลึกนึกความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างพากันออกมาพ่นดวงไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา (ปัจจุบันก็ยังมีอยู่) ส่วนประชาชนที่มารอรับ ก็พร้อมใจกันทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ   เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้ จึงตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนลงบาตร ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ชื่อว่า "ตักบาตรเทโวโรหณะ "

เราชาวพุทธเมื่อถึงวันเทโวโรหณะ นิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดใกล้บ้าน โดยทั่วไปมีขนบธรรมเนียมปฏิบัติตนดังนี้


๑. เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์
 ๒. หลักจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล
 ๓. ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส
 ๔. แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับและสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ส่วนวัดที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการตักบาตรเทโวโรหณะ ได้แก่





วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

On 21:03 by EForL   No comments


บุคคลผู้ให้สิ่งของที่ประณีตหรือไม่ก็ตาม ให้สิ่งของที่มีมูลค้ามากหรือน้อยก็ตาม
หากให้โดยไม่เคารพในทาน ไม่ทำความนอบน้อมในทาน ไม่ได้ให้ด้วยมือของตนเอง 
ให้ของที่เหลือเดน ให้ทานโดยไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม (คือให้ไปอย่างนั้นเองแต่ก็ไม่ได้เชื่อว่าจะมีผลอะไรต่อไป) 
ทานที่ให้นี้จะส่งผลให้เขา
...เมื่อไปเกิดในที่ใดก็ตาม แม้มีทรัพย์มาก 
จิตของผู้นั้นย่อมไม่ยินดีที่จะทานอาหารอย่างดีจะรับประทานแต่ของเก่า  ค้างคืน
แม้มีทรัพย์มาก ย่อมไม่ยินดีที่จะใช้ผ้าเนื้อดี   ชอบแต่ผ้าเนื้อหยาบ
แม้มีทรัพย์มาก  ย่อมไม่ยินดีที่จะใช้พาหนะดี ๆ ชอบแต่ของเก่า ๆ แม้มีทรัพย์มาก 
ย่อมไม่ยินดีที่จะทรัพย์นั้นมาบำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่ตนปรารถนา 
แม้บริวารของผู้ให้ทาน คือ บุตร  ภรรยา  ทาส  คนรับใช้  เป็นต้น    ก็ไม่เชื่อฟัง
เหล่านี้เป็นผลแห่งกรรมที่ทำทานโดยไม่เคารพ  ไม่ตระหนักเห็นคุณค่าในการทำทาน 
ส่วนบุคคลผู้ให้ทานที่ประณีตหรือไม่ก็ตาม  ถ้าให้ทานโดยเคารพ  ทำความนอบน้อมในทาน  ให้ทานด้วยมือของตนเอง   ให้ของที่ไม่เหลือเดน 
และให้ทานโดยเชื่อกรรมและผลของกรรม  ทานนั้นจะส่งผลให้เขา...
เมื่อไปเกิดที่ใดก็ตาม  จิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อรับประทานอาหารอย่างดี ย่อมยินดีในการใช้ผ้าเนื้อดี   ย่อมยินดีในการใช้ยานพาหนะดี ๆ  
จิตของเขาย่อมยินดีในการบำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา 
แม้บริวารของผู้ให้ทาน คือ บุตร ภรรยา  ทาส  คนรับใช้   เป็นต้น  ย่อมเชื่อฟัง 

ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งกรรมที่ทำทานโดยเคารพ