วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559


         
คนเราทุกคนอยู่กับตัวเองมาตั้งแต่เกิด แต่หาคนที่จะรู้จักตัวเองได้ยากเต็มที ทั้งนี้เพราะสรีระร่างกายมนุษย์ บังคับเราให้มองออกไปแต่ข้างนอก ไม่ได้มองเข้ามาข้างในตัว เราจึงไม่เคยมองเห็นหน้าตนเองเลย เห็นแต่หน้าคนอื่น เราเลยไม่ค่อยวิจารณ์ตนเองแต่ชอบไปวิจารณ์ผู้อื่นแทน ถ้าเรารักษาศีล ฝึกสมาธิ ทำใจให้สงบจนเป็นนิสัยถึงแม้จะมองไม่เห็น หน้าตนเองเด่นชัด แต่จะมองเห็พฤติกรรมผิดชอบชั่วดี ที่ตนทำเด่นชัดขึ้นทุกวัน เพราะผลจากการรักษาศีล สวดมนต์ทำสมาธิ เป็นประจำทุกวัน ทำให้ใจของเราโล่งโปร่งเบาสบาย จิตเป็นสุขสงบ ลด ละ เลิก สิ่งเศร้าหมอง เช่น ความโลภ โกรธ หลง เหล้า บุหรี่ อบายมุข ความนึกคิดในการมองโลกจะเปลี่ยนไป เราจะรู้จักการให้อภัยและมองผู้อื่นในแง่บวกมากขึ้น ที่สำคัญจะรู้จักตนเองมากขึ้นเช่นกัน

ก่อนเกิดมาจากไหน เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน?

         ใครคิดว่าตนเองเก่ง เจอ 3 คำถามนี้ ต้องยอมเหมือนกัน เพราะยากที่จะตอบ วันที่เราคลอดออกมาเราต่างไม่รู้ว่า เราคือใคร เรามาจากไหน เราอยู่ที่ใด พอเติบโตขึ้น ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษาระดับต่างๆตั้งแต่การศึกษาภาคบังคับจนถึง ระดับปริญญา เราจะเรียนรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ว่า เราอยู่ในโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่หมุนรอบตัวเอง และโคจรอยู่ในจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แต่คำตอบที่ว่า เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน ตายอย่างไร ตายเมื่อไหร่ ตายแล้วจะกลับมาเกิดอีกหรือไม่ ต่างยังหาคำตอบไม่ได้อยู่ดี ถึงแม้ว่าเราจะไม่เคยรู้ความจริงเกี่ยวกับตนเองเลย              
      แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่มนุษย์กลับไม่ชอบทุ่มเทค้นคว้าหาคำตอบ กลับมองว่าเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องลี้ลับมากเกินไป เอาเวลาที่เหลือไปศึกษาเรื่องนอกตัวที่ง่ายและสบายกว่า ต่างพากันมองข้ามเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับตนเองไปเสียสิ้น



องค์ประกอบของมนุษย์
          มนุษย์ประกอบด้วยกายและใจ กายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันขึ้นมาเป็นอวัยวะ น้อยใหญ่ในร่างกายมนุษย์ส่วนใจเป็นธาตุรู้อยู่ในตัวเป็นธาตุละเอียดเห็นได้ยาก ใจชอบคิดชอบเที่ยวและสามารถเปลี่ยนเรื่องคิดได้ เร็วมาก เรื่องที่หนึ่งคิดยังไม่ทันจบเรื่องที่สองเข้ามา เรื่องที่สองยังไม่ทันจบเรื่องที่สาม สี่ ห้า หก ไล่เรียงคิว คืนไหนนอนไม่หลับคิดได้ตั้ง 100 เรื่อง แต่ไม่จบสักเรื่องหนึ่ง พอเช้าตื่นขึ้นมาหน้าตาอ่อนระโหย นี่คือใจของเรา ใจเราควรจะเป็นสิ่งแรกที่เรารู้จัก แต่ปรากฏว่า เราชอบไปรู้จักใจคนอื่นมากกว่าใจตัวเอง แต่ไม่ได้รู้จักใจเขาจริงแท้แน่นอน จึงชอบมานั่งกลุ้มใจ ประเภทรู้หน้าไม่รู้ใจ

จากหนังสือ ความดีสากล
โดย " พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว)


วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

สาเหตุของการชอบจับผิดผู้อื่นคืออะไร

ตอบ ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่า การที่คุณเป็นคนอิจฉาริษยาชาวบ้านนั้นเป็นเพราะ 

คุณมีบุญน้อย อยากจะรวยก็รวยไม่ได้ เพราะให้ทานมาน้อย อยากฉลาดก็ฉลาดสู้เขาไม่ได้ 

เพราะทำภาวนามาน้อย อยากจะเกิดในชาติตระกูลสูงก็ไม่ได้ 

เพราะไม่เคยเคารพกราบไหว้ผู้มีคุณธรรมมาก่อน จึงต้องเป็นรองเขาร่ำไป เมื่อเป็นรองเขาเรื่อยไป 

แทนที่จะได้คิดว่าเป็นรองเขาเพราะสร้างบุญมาน้อย 

กลับปล่อยให้โมหะความหลงผิดเข้าครอบงำจิตใจ ไปอิจฉาริษยาเขา


คนที่จะเลิกอิจฉาริษยาชาวบ้านได้ จึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษของความอิจฉาริษยาให้ชัดเจนเสียก่อน

ว่า มันทำให้เกิดความเสียหายแก่เราอย่างไรบ้างตั้งแต่ทำให้วาสนาของตัวเองตกต่ำ มิหนำซ้ำยังไม่มี

กำลังใจที่จะทำความดีต่อไปอีกแม้จะเกิดไปกี่ภพกี่ชาติเบื้องหน้าก็จะเป็นคนที่มีอานุภาพน้อย 

จะต้องเป็นรองคนอื่นเขาอยู่ร่ำไป แม้ที่สุดจะเกิดเป็นกษัตริย์ก็จะตกเป็นประเทศราช

ฉะนั้น ถ้าต้องการแก้ไขนิสัยไม่ดีดังกล่าว จึงต้องทำดังนี้

1. ทุกครั้งที่รู้ตัวว่า เรากำลังมีจิตคิดอิจฉาริษยาใครก็ตาม ต้องรีบเตือนสติตัวเองว่าที่เป็นเช่นนี้ 

เพราะคุณความดีในตัวเรามีน้อยมีบุญน้อยจังได้น้อยหน้า ไม่เท่าเทียมเขา 

เป็นความผิดของเราเอง ที่ภพในอดีตไม่ชอบสร้างบุญกุศล ไม่ใช่ความผิดของคนอื่น เพราะฉะนั้น 

จะต้องรีบเร่งสะสมความดี สร้างบุญกุศลให้มาก ๆ

2.  หมั่นฝึกสมาธิให้มาก ๆ เป็นประจำทุกวัน แม้จะได้ผลช้ากว่าคนอื่นก็เพียรเรื่อยไป 

เมื่อใจผ่องใสละเอียดอ่อนขึ้น ก็จะเห็นช่องทางในการทำความดี 

ในการสร้งบุญกุศลกว้างขึ้นมากขึ้นแล้วตั้งใจทำความดีตามนั้นอย่างสุดกำลัง

ความสามารถด้วยความไม่ประมาท บุญของเราก็จะสะสมมากขึ้น ๆ 

ในที่สุดก็เป็นคนที่มีความดีอยู่ในตัวมากจนไม่จำเป็นต้องไปอิจฉาริษยาใครอีกต่อไป 

แต่แน่นอน กว่าจะทำให้นิสัยขี้อิจฉาริษยานี้หมดไปต้องใช้เวลานานมาก 

ฉะนั้นขณะกำลังฝึกตัวก็ควรได้กัลยาณมิตรเช่นครูบาอาจารย์ ผู้ใหญ่เพื่อนที่นิสัยดี ๆ ฯลฯ 

เป็นพี่เลี้ยงช่วยเตือนสติให้ก็จะดียิ่งขึ้น


ถ้ากำจัดความริษยาให้สิ้นไปจากใจได้เมื่อไรก็จะพบความสงบสุขเมื่อนั้น

คำสอนของครู

ขอบคุณภาพจาก www.dek-d.com

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

On 07:25 by EForL in    No comments
"ความยากของการแก้นิสัย"

1) กว่าจะรู้ว่านิสัยไม่ดี...ยาก
2) หาคนมาเตือนว่านิสัยเราไม่ดีนั้น...ยาก
3) มีคนมาเตือนแล้วให้เชื่อหรือยอมรับก็...ยาก
4) ยอมรับว่านิสัยไม่ดีแล้วก็หาวิธีแก้...ยาก
5) หาวิธีแก้ได้แล้ว กำลังใจที่จะแก้ก็...ยาก
6) กำลังใจที่จะแก้มีแล้ว แต่กำลังกายไม่มี(อายุมาก)ก็ทำได้...ยาก
7) โอกาสที่จะแก้ก็...ยาก
8) ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะแก้นิสัยไม่ดีให้หมดสิ้นไปได้ จึงเป็นการ...ยาก
9) หากมีนิสัยที่ไม่ดีเหลืออยู่ แต่เราตายไปเสียก่อน
   ก็ต้องไปแก้ชาติหน้าจึงเป็น การยาก(!!)

เมื่อรู้ว่าจะแก้นิสัยที่ไม่ดี แต่ละข้อ ๆ
มันยากอย่างนี้ ชาตินี้ยังไม่สายตั้งใจเอาชีวิตเป็นเดิมเพื่อแก้นิสัยไม่ดีซะน่ะ

คำของคุณ "ครู"

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

หลังพุทธปรินิพพานได้ไม่กี่เดือน พระอานนท์ได้พาลูกศิษย์ของท่านประมาณ 30 รูป

เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อปลอบประโลมใจพุทธบริษัทสี่ที่ยังเป็นเป็นปุถุชนอยู่ 

ให้หายจากความอาลัยต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พอกลับมาถึงวัดเวฬุวันฯ พระอานนท์รีบเข้าไปพบพระมหากัสสปะ 

พร้อมกับเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ ว่า 

ลูกศิษย์ที่เดินทางไปด้วยกันครั้งนี้ ได้ลาสิกขาไปหมดแล้ว 

เมื่อพระมหากัสสปะได้ยินดังนั้นก็ตำหนิพระอานนท์ว่า 

"พระอานนท์โตแต่ร่างกาย แต่ยังทำตัวเหมือนเด็ก"

ขณะที่พระมหากัสสปะตำหนิพระอานนท์อยู่นั้น มีภิกษุณีรูปหนึ่งยังไม่ได้บรรลุธรรมขั้นไหน

ชื่อถุลลนันทา นั่งอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้น พอได้ยินคำตำหนิเช่นนั้น ด้วยความที่นางไม่เข้าใจ

ธรรมเนียมปฏิบัติของพระภิกษุ จึงตะโกนต่อว่าพระมหากัสสปะทันทีว่า

"อะไรเล่าพระผู้เป็นเจ้ามหากัสปะ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ 

จะมากล่าวหาพระอานนท์ของพวกดิฉันว่าเป็นเด็กได้อย่างไร"

ฝ่ายพระมหากัสสปะท่านก็นิ่ง ๆ แล้วพูดบอกกับพระอานนท์ไปว่า

"อานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุณีถุลลนันทายังไม่ทันพิจารณา ก็กล่าววาจา

พล่อย ๆ ซะแล้ว ...ผู้ใดยังไม่ทราบชัดถึงคุณธรรมของเรา แล้วมาพูดว่ารู้ 

ยังไม่เห็น แต่มาพูดว่าเห็น ศีรษะของบุคคลนั้นจะต้องแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง"

ด้วยผลแห่งกรรมที่นางภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวไปโดยไม่คิดเช่นนี้ 

ทำให้นางต้องรีบมาขอขมาโทษต่อพระมหากัสสปะ

เพื่อไม่ให้ศีรษะต้องแตกออกไปเจ็ดเสี่ยง แล้วต้องพ้นจากความเป็นภิกษุณีไปในที่สุด

ปัจจุบันเราได้เห็นข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์องค์เจ้าแทบจะทุกวัน 

บางทีพระก็ก่อเหตุเกินกว่าที่โยมจะรับได้จริง ๆ 

แต่บางทีพระไม่ทำอย่างที่เป็นข่าว อาจจะเกมส์การเมืองของผู้มีอำนาจ 

แต่สื่อได้พาดหัวข่าวกล่าวหาพระไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้คนทั่วไปที่ยังขาดวิจารณญาณอยู่ 

ด่าพระสงฆ์องค์เจ้าแบบเสีย ๆ หาย ๆ 

และที่สำคัญคือคนชอบเหมารวมว่าพระทั้งหมดก็คงเป็นอย่างนี้ 

ครั้นจะออกไปแก้ข่าวก็หาว่า

เป็นพวกเดียวกัน ไม่น่าเชื่อถือ 

ที่น่าสงสัยอีกอย่างหนึ่งคือ

พระสงฆ์ไทยกับชาวพุทธที่ดี ๆ นี่มันก็แปลกอยู่เรื่องหนึ่ง ไม่ค่อยพูด ไม่พูด

ไม่ประณาม ไม่ออกมาชี้แจง

เราจึงเห็นการแสดงความคิดของคนที่ไม่มีศีลธรรม แต่อวดตัวว่ารู้ดีเรื่องพระมาพูดกันเต็มไปหมด