วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

On 19:42 by EForL   No comments












เรื่องมีอยู่ว่า ในกาลที่อุปติสสะและโกลิตะ (สารีบุตรและโมคัลลานะ) เที่่ยวหาสาระแกนสารของชีวิต เขาทั้งสองได้ทำการตกลงกันว่า ถ้าใครได้รู้อมตะธรรมก่อนก็ให้มาบอกซึ่งกันและกันด้วย
วันหนึ่งอุปติสสะได้เห็นจริยะวัตรที่งดงามของพระอัสชิก็เกิดความเลื่อมใส่จึงเข้าถ้าปัญหาหลังจากกระทำภัตรกิจเสร็จแล้วว่า

 "ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมข้อไหน?"

อัส. พระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล
เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

อุป. ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?

ฝ่ายพระอัสชิด้วยความที่ท่านเป็นพระบวชใหม่จึงตอบไปสั้นๆ ว่า 

"ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเหตุแห่งความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้"

ด้วยความที่อุปติสสะมีดวงปัญญามาก เมื่อจบการแสดงธรรมก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันทันที
เมื่อความสงสัยในพระรัตตรัยหมดสิ้นไปแล้ว จึงตรัสเรียนถามกับพระอัสชิว่า  พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ไหน ?

หลังจากที่ได้รับคำตอบแล้วอุปติสสะได้กราบแทบเท้าของพระอาจารย์และกล่าวนิมนต์ให้ท่านล้วงหน้าไปก่อน ส่วนตัวท่านจะไปทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับเพื่อน
โลกนี้ คนฉลาดมากหรือคนโง่มาก ?

เมื่ออุปติสสะและโกลิตะได้บวชในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  วันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสองไปยังสำนักของอาจารย์สัญชัยผู้ที่มหาชนทั้งหลายยกย่องว่าเป็นผู้วิเศษ เพราะต้องการจะพาท่านมากราบเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธองค์
และกระผมทั้งสองได้บอกกับอาจารย์เก่าไปว่า
 “ลัทธิของท่านไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลยจะสอนคนอื่นไปทำไม” 

 อาจารย์สัญชัยตอบกลับมาว่า
"เราเคยเป็นครูของมหาชน การที่เราจะทำอย่างนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้"

เมื่อกระผมบอกว่า

 "ท่านอาจารย์ ต่อไปมหาชนทั้งหลายรวมทั้งลูกศิษย์ของท่านก็จะไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะทำอย่างไร?"

อาจารย์กล่าวว่า
"ก็โลกนี้คนฉลาดมากหรือคนโง่มาก?"

กระผมตอบว่า " คนโง่มากกว่า "
อาจารย์กล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น พวกคนฉลาดจะไปสำนักของพระพุทธเจ้า พวกคนโง่จะมายังสำนักของเรา"

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ฟังดังนี้แล้วจึงตรัสว่า

" ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความเห็นผิด เขาย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสิ่งที่มีสาระ รู้สิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีสาระ ชนเหล่านั้น มีความเห็นถูกเขาย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระตลอดกาลนาน "