วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
On 22:43 by EForL in นิกายมหายาน No comments
พระพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นมีพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตั้งสมัยพุทธกาลจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับประยงค์ แสนบุราญ
ได้กล่าวไว้ว่า ในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนชีพอยู่
หรือแม้แต่หลังเสด็จปรินิพพานแล้วใหม่ๆรูปแบบของนิกายมหายานยังไม่ได้เกิดขึ้นแม้แต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่
2 พระพุทธศาสนาจะเริ่มแยกอออกเป็น
2 นิกาย คือ เถรวาท (สถวีรวาทิน) และอาจาริยวาท (มหาสังฆิกะ)
หรือแม้แต่ในพุทธศตวรรษที่ 3 พระพุทธศาสนาจะแตกออกเป็น 18
นิกายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นนิกายมหายานแต่อย่างใด
เพียงแต่ถือว่าเป็นความคิดของคณาจารย์ที่ไม่ตรงกัน
แต่ก็รับว่าเริ่มมีการก่อตัวขึ้นในช่วงนี้ จนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 (ประมาณพ.ศ.500 เศษๆ) พระอัศวโฆษ
ภิกษุชาวเมืองสาเกตในสมัยพระเจ้ากนิษกะแต่งคัมภีร์ศรัทโธตปาทศาสตร์ขึ้น
นิกายมหายานซึ่งเป็นกระแสที่ค่อยๆ
ก่อตัวขึ้นเป็นเวลานานจึงปรากฏรูปร่างชัดเจนขึ้นในพุทธศตวรรษนี้และมีพัฒนาการต่อไปอย่างรวดเร็ว
(ประยงค์ แสนบุราญ, 2549 : 65) ซึ่งการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนามหายานในอินเดียเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น อาจมีสาเหตุมาจากหลายประการดังนี้
1. เกิดจากบ้างนิกายใน 18 นิกาย มหายานได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากทั้ง
18
นิกายของพุทธศาสนา และที่มีอิทธิพลมากต่อมหายานคือ นิกายมหาสังฆิกะ มหายานค่อยๆ พัฒนาและผสมผสานแนวความคิด
หลักปรัชญาจากนิกายต่างๆ แล้วจึงค่อยๆ
ปรากฏตัวชัดขึ้นเป็นรูปร่างในราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยอภิชัย
โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์ (2527 : 83) กล่าวว่านิกายทั้ง18 นิกาย ต่างมีอุดมคติทัศนะทางหลักธรรมและวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง
มหายานก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน เกิดขึ้นเพราะมีทัศนะในเรื่องอุดมคติต่างจาก 18นิกายคณาจารย์ในมหายานในสมัยนั้นล้วนแต่เป็นภิกษุใน 18 นิกายมาก่อน ภายหลังจึงแยกตัวออกมาตั้งนิกายมหายาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณาจารย์ในนิกายมหาสังฆิกะ และกลุ่มคณะของนิกายนั้นได้มีบทบาทสำคัญที่ก่อให้เกิดนิกายมหายาน
2. การเน้นพุทธลักษณะ มหายานมีแนวความคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีลักษณะพิเศษ
และยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ธรรมดาทั้งหลาย ควรมีสภาวะที่ยั่งยืนไม่มีขอบเขต แต่ด้วยพระมหากรุณาจึงทรงแสดงพระองค์ในภาวะต่างๆ
ปรากฏให้เห็นในโลกเพื่อโปรดสัตว์โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ (2520 : 459-460) กล่าวว่า นิกายมหาสังฆิกะเห็นว่าภาวะของพระพุทธเจ้าทั้งนามและรูปเป็นโลกุตตระ
พระชนม์ชีพยังยั่งยืนไม่มีขอบเขต สิ่งที่แตกดับเป็นเพียงมายาธรรมเท่านั้น
ความคิดเช่นนี้เองที่ก่อให้เกิดลัทธิมหายาน ได้เห็นตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
จึงนำเอาโพธิจริยาทั้ง 10
ทัศมาประกาศเป็นพิเศษและตั้งอุดมคติที่จะให้มุ่งสำเร็จสัพพัญญุตญาณ มีโอกาสสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์และไม่พอใจในการบรรลุพระอรหันต์เพราะถือว่าคับแคบเฉพาะตน
3
|
ก. แนวแห่งบุคลาธิษฐาน โดยเพ่งเล็งถึงศรัทธาปสาทะของสามัญชนเป็นส่วนใหญ่สำคัญ
โดยอนุโลมตามความต้องการของสามัญชน
ข. ปฏิรูปตามแนวแห่งธรรมาธิษฐาน
เมื่อบัญญัติลัทธิทางบุคคลาธิษฐานเพื่อจูงศัทธาแล้วก็ต้องให้มีปัญญากำกับ
ด้วยวิธีการนี้เองส่งผลให้พระพุทธศาสนากลับมาครองใจประชาชนอีกครั้ง
และสามารถดึงศาสนิกจากศาสนาพราหมณ์ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้พระพุทธศาสนากลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
4. เกิดจากพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ เนื่องจากนิกายมหายานเน้นที่การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์
ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นคฤหัสถ์ได้
จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งอาจารย์เสถียร โพธินันทะ (2520 : 466) ให้ความเห็นว่าจากการปฏิรูปหลักธรรมเพื่อสู้กับพราหมณ์ดังกล่าว
แม้จะเกิดจากพระเถระจาก 18 นิกายก็ตามแต่พระเถระเหล่านั้นเน้นการศึกษาปรัชญา
ส่วนผู้ที่ปฏิรูปทั้งทางด้านธรรมาธิษฐานและปุคลาธิษฐานคือพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์พุทธบริษัทเหล่านี้พยายามเผยแพร่ศาสนาตามสังคมด้านต่างๆอย่างใกล้ชิดและสะดวกกว่าพระสงฆ์
สามารถเผยแพร่ธรรมได้ทุกกาลสมัย และคนเหล่านี้ก็ปรารถนาโพธิญาณเพื่อจะได้เป็นพระโพธิสัตว์เช่นกันพระโพธิสัตว์ในเพศฆราวาสนี้ยังแบ่งออกเป็น
2 ฝ่าย คือ
ก. พระโพธิสัตว์ฆราวาสซึ่งประพฤติพรหมจรรย์เหมือนสมณะ
ประเภทนี้แม้จะครองเรือนอยู่แต่ก็รักษาความสงบภายในเรียก “ ฆราวาสมุนี ”
ข. พระโพธิสัตว์ฆราวาสซึ่งยังบริโภคกามคุณเยี่ยงสามัญชนทั่วไป
ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นการเปิดกว้างให้ทุกคนมีส่วนในการทำหน้าที่ช่วยกันประกาศพระพุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเฉพาะในคณะสงฆ์เท่านั้น
ทุกคนมีบทบาทในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้รักษาและสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน
จากมูลเหตุที่กล่าวมาแล้วทั้ง 4
ประการนั้น มหายานได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจาก18 นิกาย โดยเฉพาะนิกายมหาสังฆิกะรวมถึงความคิดการเน้นพุทธลักษณะที่ต่างจากเดิม
และยังมีแรงผลักดันจากการปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ที่ทำให้ฝ่ายพุทธศาสนาเองต้องมีการปฏิรูปหลักธรรมใหม่เพื่อแข่งขันกับศาสนาพราหมณ์
โดยมีพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาตามสังคมด้านต่างๆอย่างใกล้ชิดและสะดวกกว่าพระสงฆ์จนในที่สุดพระพุทธศาสนามหายานจึงปรากฏชัดเจนในคัมภีร์ศรัทโธปาทศาสตร์
โดยประยงค์ แสนบุญราณ (2548 : 96) ได้กล่าวว่า พุทธศตวรรษที่ 6 พระอัศวโฆษได้นิพนธ์คัมภีร์ศรัทโธปาทศาสตร์ประกาศตัวเองเป็นมหายานอย่างเต็มตัวต่อมาจากพุทธศตวรรษที่
6-9 นิกายมหายานได้แตกนิกายออกอีก 3 นิกาย
เฉพาะในอินเดีย หลังจากนั้นได้เผยแผ่เข้าไปในประเทศธิเบต เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
เวียดนาม และประเทศอื่นๆ
สำหรับพระพุทธศาสนามหายานในปัจจุบันเจริญรุ่งเรืองในแถบเอเชียตะวันออกได้แก่
ประเทศทิเบต จีน เกาหลี ไต้หวันญี่ปุ่น และเวียดนาม โซนตะวันตกได้แก่ประเทศอังกฤษ
อิตาลีเยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์สหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็นต้น
ส่วนโซนโอเชียเนียนั้นอยู่ในประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์โดยเฉพาะในปัจจุบันพบว่านิกายมหายานได้รับความนิยมจากทั่วโลก
ซึ่งจากข้อมูลทางเวบไซต์ www.buddhanet.net ได้ให้ข้อมูลสถิติผู้นับถือพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ ทั่วโลก นิกายมหายานมีจำนวนผู้นับถือมากกว่านิกายอื่นๆ
คือ มหายาน จำนวน 185,000,000 คน เถรวาท จำนวน 124,000,000 คน วัชรยาน (ทิเบต) จำนวน 20,000,000 คน (http://www.buddhanet.net/e-learning/history/bstats_b.htm)
(ที่มา : Statistics
sourced fromwww.adherents.com)
นอกจากนี้เมื่อทำการเปรียบเทียบค้นหาคำว่า
Vajrayan
Tibetan, TharavadaและMahayana ในเว็บไซต์ https://www.google.com/trends
จะพบว่า Mahayana มีเปอร์เซ็นต์ยอด
การค้นหาสูงกว่า
Vajrayan
Tibetan, Tharavada นี้ก็แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ทั่วโลกมีความสนใจในการศึกษาพุทธศาสนามหายานมากกว่านิกายอื่น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัจจุบันพุทธศาสนามหายานหลายนิกายได้เข้าไปเผยแผ่ในหลายๆประเทศซึ่งได้รับความนิยมมากทั้งในวงวิชาการและประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะนิกายเซนและพระพุทธศาสนาแบบทิเบต
ที่กำลังได้รับความนิยมจากชาวตะวันตก สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานมากกว่านิกายอื่นนั้น
เพราะพระพุทธศาสนามหายานเข้าถึงง่ายกว่า ส่วนพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเข้าถึงยากเนื่องจากมีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า
และเกิดความเสื่อมศรัทธาในศาสนาเดิมที่สอนให้เชื่อเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากเหตุผล
ซึ่งขัดแย้งกับหลักวิทยาศาสตร์ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในตะวันตก
และเมื่อได้ศึกษาพระพุทธศาสนาที่ท้าทายให้พิสูจน์โดยไม่บังคับให้เชื่อตาม
อีกทั้งหลักคำสอนยังยึดเหตุผลและการไม่ใช้ความรุนแรง จึงทำให้ชาวตะวันตกเกิดศรัทธาและหันมานับถือพระพุทธศาสนา
สิ่งที่น่าสนใจคือพระพุทธศาสนานิกายมหายานมีหลักคำสอนอย่างไรจึงทำให้ได้รับความนิยมนั้น
เป็นสิ่งที่ควรศึกษาถึงหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น