วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

On 22:15 by EForL   No comments

การสังคายนาครั้งที่ 2
การสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ พ.. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการตอบ โดยมีพระเจ้ากาลาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภ์ การทำสังคายนาในครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ใช้เวลา 8 เดือน ซึ่งปรากฏใน สัตตสติกขันธกะ (วิ.จู. (ไทย) 7/ 446-458/ 393-420) กล่าวไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ 100 ปี ภิกษุเมืองเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี ได้มีความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับวัตถุ 10 ประการ โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ผิดพระวินัย ส่วนอีกฝ่ายเห็นว่าผิดพระวินัย จนเกิดการถกเถียงกันอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้เกิดความที่ต่างกันเรื่อง วัตถุ 10 ประการ โดยภิกษุชาววัชชีบุตรได้ตีความไปอีกอย่างโดยถือว่าเป็นอาบัติเล็กน้อยไม่สำคัญอะไรมากนัก จนเป็นเหตุให้เกิดการสังคายนาครั้งที่ 2
วัตถุ 10 ประการ ตามที่ภิกษุวัชชีบุตรตีความไว้ คือ
1. ภิกษุเก็บเกลือไว้ในแขนง (ภาชนะที่ทำด้วยเขาสัตว์) แล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้
2. ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง 2 องคุลีได้
3. ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่บ้าน
จะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวินัยกรรมได้
4. ในอาวาสเดียวกันมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกทำอุโบสถได้
5. ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกัน จะทำอุโบสถไปก่อนก็ได้ โดยให้ผู้ที่มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้
6. การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตามย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ
7. นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ (เนยใส) ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วจะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรมหรือทำให้เป็นเดนตามพระวินัยก็ได้
8. สุราที่ทำใหม่ๆยังมีสีแดงเหมือนเท้านกพิราบยังไม่เป็นสุราเต็มที่ภิกษุจะฉันก็ได้
9. ผ้าปูนั่งนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภคใช้สอยก็ได้
10. ภิกษุรับและยินดีในเงินทองที่เขาถวาย ไม่เป็นอาบัติ
เมื่อการสังคายนาเสร็จสิ้นผลจนสุดท้ายได้ข้อสรุปว่า ทุกข้อที่พระสัพพกามีวิสัชชนา ฝ่ายพระเรวตเถระได้เสนอให้สงฆ์ทราบทุกข้อและขอมติจากสงฆ์เพื่อให้ยอมรับว่า วัตถุเหล่านี้ผิดธรรม ผิดวินัย เป็นการหลีกเลี่ยงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า และได้ขอให้สงฆ์ลงมติทุกครั้งที่พระสัพพากมีเถระตอบ มติของสงฆ์จึงเห็นว่าวัตถุ 10 ประการนี้ ผิดธรรม ผิดวินัย โดยเสียงเอกฉันท์
หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง ฝ่ายพระภิกษุวัชชีบุตรไม่ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์จึงแยกไปทำสังคายนาที่เมืองปาฏลีบุตร ซึ่งมีพระสงฆ์เข้าร่วม 10,000 รูป และเรียกกลุ่มของตนว่ามหาสังคีติ หรือมหาสังฆิกะ เพราะเป็นกลุ่มใหญ่มากจึงแตกออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายพระสัพพกามีเถระ และฝ่ายมหาสังฆิกะ ซึ่งต่อมาก็แตกเป็นอี 18 นิกาย โดยมี 7 นิกายแตกออกมาจากมหาสังฆิกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ.100-200 ส่วน 11 นิกายที่แตกมาจากเถรวาท เกิดเมื่อปี พ.ศ. 200 เป็นต้นมา (มหาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, 2550 : 74)
แต่ละนิกายที่แตกย่อยออกไปนั้นต่างมีความเห็นแตกต่างกันทางด้านอุดมคติ การตีความของพระธรรมวินัยไปต่างๆนาๆ และนำไปสู่การปฏิบัติที่ต่างกันอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ สิริวัฒน์ คำวันสา (2545:66-68) ได้กล่าวไว้ว่า การแตกแยกในครั้งนั้นได้แยกออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มของพระยสกากัณฑบุตรและกลุ่มภิกษุวัชชีบุตร โดยเรียกกลุ่มแรกว่าเป็นนิกาย เถรวาท(สถวีรวาท ในภาษาสันสฤต) เพราะเป็นกลุ่มอนุรักษ์แนวคิดของกลุ่มพระเถระผู้ทำสังคายนาครั้งแรกที่มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ซึ่งพยามรักษาคำสอนดั้งเดิมไว้มากที่สุด และเรียกกลุ่มหลังว่าเป็นนิกาย อาจริยวาทเพราะเป็นกลุ่มที่ถือเอาความคิดของอาจารย์ของตนเป็นหลัก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นนิกาย มหาสังฆิกะเพราะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนของพระภิกษุมาก ต่อมานิกายทั้งสองได้เกิดการแตกออกอีกซึ่งนิยมถือกันว่ามีถึง 18 นิกาย แต่ในความจริงน่าจะมีมากกว่านั้น
ในกรณีความเห็นต่างเรื่องการรับเงินรับทอง ต้องดูสภาพสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่นในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธเจ้าอยู่เป็นหลักให้กับพระพุธศาสนา ด้วยบารมีของพระองค์ ทั้งเศษรฐีและกษัตริย์มีความศรัทธามาก จึงไม่มีปัญหาการดำรงชีพของสมณะ ทุกอย่างไม่ขลาดแคน แต่หลังพุทธกาลพอไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว ความศรัทธาของญาติโยมก็ไม่เหมือนตอนพุทธกาล เพราะสังคมมันเปลี่ยน เนื่องจากพระพุทธเจ้าได้บอกกับพระอานนท์ว่าอานนท์หากสงฆ์เห็นสมควร ให้เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ คือพระองค์อนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ผ่านมาพระอานนท์ลืม ตอนสังคายนาครั้งแรก พระอานนท์ก็ตอบไม่ได้เพราะลืมถามพระพุทธเจ้า พระวินัยเป็นสิ่งที่คอยร้อยรัดพระสงฆ์ให้อยู่ร่วมกัน ถ้าเป็นเรื่องการปฏิบัติจะมีความเห็นต่างกันบ้าง แต่ในทางวินัยจะมีความเห็นต่างกัน พระมหากัสสปะเสนอว่าสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้วจะไม่เพิกถอนและจะสมาทานสิกขาบทนั้น สงฆ์มีมติจึงเห็นด้วยจึงไม่มีการเพิกถอนพระวินัย เรื่องนี้มีการจารึกไว้ในพระไตรปิฎกปรากฏกในปัญจสติก ขันธกะ (วิ.จู. (ไทย) 7/ 442/ 383) จึงเป็นหลักปฏิบัติตามมาของเถรวาท แต่เจตนาของพุทธเจ้าคือเมื่อสังคมเปลี่ยนไปก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามองการณ์ไกล แต่ในส่วนที่พระกัสสปะไม่ยอมแก้ก็เป็นส่วนที่ดี ทำให้เถรวาทยังคงรักษาพระวินัยดั้งเดิมไว้ แต่ตัวพระวินัยก็ยึดหลักไว้ แต่ในเชิงปฏิบัติก็ยืดหยุ่นได้โดยการมองทุกอย่างไปในทางเจตนารมณ์ ไม่ใช่ไปดูถูกคนแบบแข็ง แต่ดูเจตนารมณ์เพื่อเอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติศาสนกิจและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาก็ แต่ถ้าหากมีใครถือ แบบเคร่งครัดเกินก็จะเกิดการแตกแยกทันที นี่คือบทเรียนจากครั้งพุทธกาล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น