วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
ขึ้นชื่อว่าความลับหรือข้อสงสัยอะไรย่อมไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระพุทธองค์เมื่อต้องเจอกับนักบวชนอกศาสนา
หรือแม้กระทั่งพระราชามหากษัตริย์
ท่านจะมีปกติทักทายก่อนพร้อมกับเชิญชวนว่า
"ท่านจงถามปัญหากะเรา เราจะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ
แก่ท่าน"
คำว่า "ที่สุดแห่งปัญหา" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
ถือเป็นการตอบข้อสงสัยที่ตรงประเด็นและไม่ปิดบังอัมพรางเลยแม้แต่นิดเดียว
จนทำให้ผู้ที่ได้รับคำตอบจะต้องชื่นชมในอัจฉริยภาพเป็นเสียงเดียวกันว่า "แจ่มแจ้งจริงหนอ
ประดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด เปิดไฟในที่มืด
ชี้ทางสว่างให้แก่คนที่หลงทาง" การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะชมกันซะขนาดนี้
แสดงว่าผู้ตอบคำถามต้องสามารถทำลายความลับหรือความไม่รู้ของผู้ถามปัญหาออกไปจนหมดสิ้นอย่างแน่นอน ซึ่งความลับหรือความไม่รู้อันใดที่คนในอดีตถาม
ก็คงเป็นเรื่องที่คนในปัจจุบันสงสัยเช่นเดียวกัน
แม้ว่าคนในปัจจุบันจะเกิดไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่คำสอนอันเป็นสัจจะธรรมยังคงมีอยู่
เพราะฉะนั้นเราชาวพุทธควรจะภาคภูมิเสียเถอะว่า คำสอนที่เป็นสัจจะธรรมที่สุด
คำสอนที่สามารถนำสันติภาพที่แท้จริงที่สุด
ยังคงเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในบ้านเมืองของเรา พวกเราชาวพุทธควรจะรักษาและหวงแหนคำสอนอันทรงคุณค่านี้เอาไว้ให้อยู่คู่แผ่นดินนี้ตราบนานเท่านาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น