วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559
ในสมัยพุทธกาลมีนักบริหารท่านหนึ่งชื่อชานุสโสนิ
เข้าไปถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
พวกนักปกครอง พวกนักวิชาการ พวกนักธุรกิจ พวกสตรี พวกโจร
และพวกนักบวชมีรสนิยมเป็นอย่างไร ?
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
- นักปกครองย่อมประสงค์ในโภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในกำลังทหาร
ต้องการความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ต้องการความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
- นักวิชาการ ชอบศึกษาค้นคว้า มั่นใจในความรู้ ต้องการให้คนยกย่องสรรเสริญ
- นักธุรกิจ มั่นใจในความสามารถของตน ต้องการประสบความสำเร็จเป็นที่สุด
- สตรี ย่อมประสงค์บุรุษ นิยมเครื่องแต่งตัว มั่นใจในบุตร ต้องการความเป็นใหญ่ในบ้าน
(ไม่ต้องการให้มีสตรีอื่นร่วมสามี)
- โจร ย่อมประสงค์ที่จะลักทรัพย์ของผู้อื่น นิยมที่เร้นลับ มั่นใจในศาตรา
ต้องการที่มืดเพื่อปกปิดตัวเอง
- นักบวช ย่อมประสงค์ขันติ โสรัจจะ นิยมปัญญา มั่นใจในศีล
ต้องการความไม่มีห่วงใย
มีพระนิพพานเป็นที่สุด ฯ
เมื่อเราเข้าใจในธรรมชาติ หรือความนิยมชมชอบ ความพอใจ
ของบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังนี้แล้ว
เวลาเข้าไปหาหรือต้องเข้าไปติดต่องานจะได้วางตัวถูก
เข้ากับภาษิตที่ว่า
"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
ขึ้นชื่อว่าความลับหรือข้อสงสัยอะไรย่อมไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระพุทธองค์เมื่อต้องเจอกับนักบวชนอกศาสนา
หรือแม้กระทั่งพระราชามหากษัตริย์
ท่านจะมีปกติทักทายก่อนพร้อมกับเชิญชวนว่า
"ท่านจงถามปัญหากะเรา เราจะกระทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ
แก่ท่าน"
คำว่า "ที่สุดแห่งปัญหา" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
ถือเป็นการตอบข้อสงสัยที่ตรงประเด็นและไม่ปิดบังอัมพรางเลยแม้แต่นิดเดียว
จนทำให้ผู้ที่ได้รับคำตอบจะต้องชื่นชมในอัจฉริยภาพเป็นเสียงเดียวกันว่า "แจ่มแจ้งจริงหนอ
ประดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด เปิดไฟในที่มืด
ชี้ทางสว่างให้แก่คนที่หลงทาง" การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะชมกันซะขนาดนี้
แสดงว่าผู้ตอบคำถามต้องสามารถทำลายความลับหรือความไม่รู้ของผู้ถามปัญหาออกไปจนหมดสิ้นอย่างแน่นอน ซึ่งความลับหรือความไม่รู้อันใดที่คนในอดีตถาม
ก็คงเป็นเรื่องที่คนในปัจจุบันสงสัยเช่นเดียวกัน
แม้ว่าคนในปัจจุบันจะเกิดไม่ทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่คำสอนอันเป็นสัจจะธรรมยังคงมีอยู่
เพราะฉะนั้นเราชาวพุทธควรจะภาคภูมิเสียเถอะว่า คำสอนที่เป็นสัจจะธรรมที่สุด
คำสอนที่สามารถนำสันติภาพที่แท้จริงที่สุด
ยังคงเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในบ้านเมืองของเรา พวกเราชาวพุทธควรจะรักษาและหวงแหนคำสอนอันทรงคุณค่านี้เอาไว้ให้อยู่คู่แผ่นดินนี้ตราบนานเท่านาน
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559
ประเพณีของชาวพุทธ เมื่อมีผู้เสียชีวิต
เรามักจะคุ้นเคยกับการทำบุญให้ผู้ตาย 7 วัน 50 วัน และทำบุญ 100 วัน
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น
การทำบุญ 7 วัน คือ ช่วงที่ผู้ตายยังวนเวียนอยู่ในเมืองมนุษย์ นี่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปมหานรก ก็จะได้มีโอกาส ๗
วันนั้นส่งบุญไปช่วยกันได้
การทำบุญ 50 วัน คือ
ช่วงที่กำลังรอคอยการพิพากษาจากพญายมราชในยมโลก เข้าคิวคอยอยู่ในช่วงนี้
การทำบุญ 100 วัน คือ ช่วงที่ระหว่าง 50 – 100 วัน คือ
ช่วงพิพากษา และส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร เช่น ไปเกิดในยมโลก ไปเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นเปรต อสุรกาย
สัตว์เดรัจฉาน
เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ช่วง 7 วัน 50 วัน 100 วัน จะเป็นช่วงกายละเอียดรับบุญได้
นี่คือหลักการนะส่วนใหญ่มักจะเป็นอย่างนี้
แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะฉะนั้น ภายใน 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน ก็ต้องทำบุญทุกบุญให้เต็มกำลัง แล้วอุทิศบุญไปให้กับผู้ที่เสียชีวิต
คำสอนของพระเทพญาณมหามุนี
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559
On 07:27 by EForL in ความลับของชีวิต No comments
"ความลับของแต่ละชีวิต" ที่เจ้าของชีวิตไม่มีโอกาสทราบล่วงหน้าเลย
มีอยู่ ๕ ประการ
ประการที่ ๑
"เราไม่รู้ว่าจะอยู่ในโลกนี้อีกกี่ปี"
ประการที่ ๒
"เราไม่อาจรู้ว่าจะตายด้วยวิธีการใด"
ประการที่ ๓
"เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะจากโลกนี้ไปในเวลาใด"
ประการที่ ๔
"เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าว่าจะทอดร่างลงดับจิตในสถานที่ใด"
ประการที่ ๕ "ตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน"
เมื่อเรารู้ว่า "เราไม่รู้อย่างนี้"
ในขณะที่ยังมีลมหายใจก็อย่าประมาท สร้างคุณค่าให้กับชีวิตต่อไป
1.
เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย
เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์
2.
เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอยู่เสมอ
เพราะชาติก่อนคุณเคยทำทานอาหารแก่คนยากจนในชาติก่อน
3.
เหตุใดชาตินี้คุณอดอยากยากจน ไม่มีเสื้อผ้าดีดีสวมใส่
เพราะคุณตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมทำทานคนจน ในชาติก่อน
4.
เหตุใดชาตินี้คุณมีบ้านเรือนใหญ่โต
เพราะคุณเคยถวายข้าวสารเข้าวัดในชาติก่อน
5.
เหตุใดชาตินี้คุณมีความเจริญรุ่งเรืองและมีความสุขมาก
เพราะคุณเคยถวายเงินสร้างวัดในชาติก่อน
6.
เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนสวย และรูปงาม
เพราะคุณเคยถวายดอกไม้สดบูชาพระด้วยความเคารพในชาติก่อน
7.
เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมีปัญญาดี
เพราะคุณเคยเป็นพุทธมามกะและทานมังสวิรัติในชาติก่อน
8.
เหตุใดชาตินี้คุณเป็นที่รักของทุกๆ คนและมีเพื่อนมากมาย
เพราะคุณเคยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคนในชาติก่อน
9.
เหตุใดชาตินี้คุณมีพ่อ แม่อยู่พร้อมหน้า
เพราะคุณเคารพและให้ความช่วยเหลือ ไม่ดูแคลนคนไร้ าติในชาติก่อน
10.
เหตุใดชาตินี้คุณเป็นเด็กกำพร้า
เพราะคุณเคยยิงนก ตกปลา และพรากสัตว์ในชาติก่อน
11.
เหตุใดชาตินี้คุณมีอายุยืนแข็งแรง
เพราะคุณเคยปล่อยนก ปล่อยปลา สิ่งมีชีวิตในชาติก่อน
12.
เหตุใดชาตินี้คุณอายุสั้น
เพราะชาติก่อนคุณเคยฆ่าสัตว์มากมาย
13.
เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนรับใช้
เพราะชาติก่อนคุณเคยดูถูกเหยียดหยามคนจน
14.
เหตุใดชาตินี้คุณมีดวงตาสดใส
เพราะชาติก่อนคุณเคยเติมน้ำมันตะเกียงและจุดไฟบูชาพระ
15.
เหตุใดชาตินี้คุณโง่ปัญญาอ่อนและหูหนวก
เพราะชาติก่อนคุณเคยด่าว่าและหยาบคายต่อหน้าพ่อแม่
16.
เหตุใดชาตินี้คุณต้องตายเพราะยาพิษ
เพราะชาติก่อนคุณเจตนาวางยาในต้นน้ำลำธารให้เป็นพิษ
17.
เหตุใดชาตินี้คุณจึงแขวนคอตาย
เพราะชาติก่อนคุณใช้ตะข่ายล่าและดักสัตว์
18.
ถ้าชาตินี้คุณฆ่าเขา
ชาติหน้าเขาก็จะฆ่าคุณ และจะฆ่ากันไป-มาไม่มีสิ้นสุด
19.
ถ้าชาตินี้คุณบอกเล่ากฏแห่งกรรม
คุณจะเป็นที่เคารพนับถือมากมายในชาติหน้า
วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559
เรื่องมีอยู่ว่า นายปุณณะ เป็นคนยากจนเข็ญใจ
เขาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างทำงานให้กับสุมนเศรษฐี เพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัวไปวันๆ
ในครอบครัวของเขาประกอบด้วยภรรยา ๑ คน และบุตรสาวอีก ๑ คน ทั้งสองคนเป็นคนดีมากๆ
คอยดูแลเอาใจใส่เขาอย่างดี แม้จะมีความเป็นอยู่ที่ลำบากก็ไม่ทอดทิ้งกัน
ต่อมาวันหนึ่ง กรุงราชคฤห์มีการจัดงานมหรสพ ๗ วัน ๗ คืน
สุมนเศรษฐีจึงถามเขา "ว่าจะไปเที่ยวชมมหรสพหรือรับจ้างทำงาน"
เขาตอบว่า "มหรสพเป็นเรื่องของคนรวย ส่วนเขาเป็นคนยากจน
ข้าวสารกรอกหม้อในวันพรุ่งนี้ยังไม่มีกิน จะขอรับจ้างทำงานเหมือนกับทุกวัน"สุมนเศรษฐีจึงให้งานไถนาแก่เขา
นายปุณณะรับวัวและไถมาแล้ว ก่อนจะออกบ้าน
เขาได้บอกภรรยาให้ทำอาหารเช้าเป็นผักต้มมากกว่าทุกวันเป็นสองเท่า
แล้วให้นำไปส่งเขาที่ท้องนานอกเมือง
ขณะนั้น พระสารีบุตรเพิ่งออกจากการเข้านิโรธสมาบัติมาตลอด ๗
วัน เห็นนายปุณณะปรากฏในข่ายญาณทัศนะของท่าน
ก็ทราบว่าเขาเป็นเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า ถึงแม้จะมีฐานะยากจนก็ตาม
แต่หากเขาได้ทำบุญกับท่านในเช้าวันนี้
เขาจะได้เป็นมหาเศรษฐีใจบุญค้ำจุนพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต
ท่านปรารถนาจะอนุเคราะห์ให้เขาพ้นจากความลำบากยากจน จึงลุกจากที่หลีกเร้น
เดินไปหาเขาที่ท้องนา
นายปุณณะเห็นพระสารีบุตรเดินมาแล้วก็รีบวางคันไถ
ก้มกราบด้วยความเคารพ รีบทำไม้ชำระฟันนำไปถวายท่าน
รับบาตรและผ้ากรองน้ำจากมือท่านแล้ว ก็รีบนำไปกรองน้ำดื่มมาถวายท่าน
พระสารีบุตรรออยู่ที่นั่นสักครู่ ก็ทราบว่าภรรยาของนายปุณณะเตรียมอาหารเช้าเสร็จแล้ว
กำลังเดินทางเกือบจะถึงท้องนาแล้ว ท่านจึงเดินมุ่งหน้าตรงไปยังกรุงราชคฤห์
ในระหว่างทางนั้นเอง
ภรรยาของนายปุณณะได้พบเห็นพระสารีบุตรกำลังเดินบิณฑบาต ก็ได้คิดขึ้นว่า 'การทำทานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับเรา
เพราะบางครั้งมีเนื้อนาบุญแต่ไม่มีไทยธรรมก็ทำไม่ได้
มีไทยธรรมแต่ไม่มีเนื้อนาบุญก็ไม่ได้ทำ แต่วันนี้มีครบทั้งสองอย่าง
เราควรทำบุญก่อนเถิด'
ภรรยาของนายปุณณะวางภาชนะใส่อาหารลง ก้มกราบพระสารีบุตรแล้ว
กล่าวนิมนต์ว่า"พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอโปรดจงอย่าคิดว่าภัตตาหารนี้เศร้าหมองหรือประณีตเลย
จงทำความสงเคราะห์แก่ทาสผู้เคารพและศรัทธาต่อพระคุณเจ้าด้วยเถิด"
เมื่อภรรยาของนายปุณณะถวายภัตตาหารได้ครึ่งหนึ่ง
พระสารีบุตรก็วางมือปิดบาตร นางจึงกล่าววิงวอนว่า "พระคุณเจ้าผู้เจริญ
โปรดอย่าสงเคราะห์ดิฉันแค่เพียงในชาตินี้เลย
โปรดสงเคราะห์ดีฉันในสัมปรายภพด้วยเถิด"
พระสารีบุตรก็เปิดบาตรออกให้นางใส่ภัตตาหารอีกครึ่งหนึ่งลงไป
ภรรยาของนายปุณณะถวายภัตตาหารเสร็จแล้วก็กล่าวว่า "ขอผลานิสงส์แห่งบุญนี้
จงส่งผลให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับที่พระคุณเจ้าได้บรรลุแล้วด้วยเทอญ"พระสารีบุตรกล่าวอนุโมทนาว่า
"ขอจงสมปรารถนาเช่นนั้นทุกประการ"
นางปลาบปลื้มปีติในการถวายทานเป็นอันมาก
ก้มกราบแล้วก็รีบกลับไปบ้าน หุงข้าวเตรียมอาหารชุดใหม่เสร็จแล้ว
ก็รีบไปส่งให้กับสามีที่กำลังรอคอยด้วยความหิวอยู่ที่ท้องนา
นายปุณณะยังไม่ได้ทานอาหารเช้า ไถนาจนหมดแรง
ภรรยาก็ยังไม่มาจึงไปนั่งรอใต้ร่มไม้ด้วยความหิวจนมือไม้สั่น
ภรรยาเพิ่งก้าวมาถึงท้องนา เห็นสามีนั่งรออยู่ก็รู้ว่าหิวมาก
ถ้าหากไม่ทำให้อารมณ์ดีก่อน ที่จะเกิดความโมโหหิวและลงมือทำร้ายตน
การถวายทานด้วยภัตตาหารส่วนของสามีในเช้าวันนี้ก็จะกลายเป็นสูญเปล่า
นางจึงร้องบอกแต่ไกลด้วยถ้อยคำอ่อนหวานว่า “พี่จ๋า
พี่จงทำใจให้ผ่องใสสักวันหนึ่งเถิด อย่าได้ทำบุญใหญ่ที่ฉันทำแล้วให้ไร้ประโยชน์
เมื่อเช้าฉันได้พบกับพระธรรมเสนาบดี ได้ถวายภัตตาหารแด่ท่าน
แล้วกลับไปเตรียมมาใหม่ ขอพี่จงทำจิตให้เลื่อมใสในบุญนั้นเถิด”
นายปุณณะได้ยินดังนั้น ก็ตกตะลึงคิดว่าตัวเองหูฝาด
พอได้ยินภรรยาเล่าซ้ำ ก็ปลื้มใจในบุญนั้นเป็นอันมาก
แล้วก็เล่าการทำบุญในส่วนตัวของตน มีการถวายไม้ชำระฟันและน้ำบ้วนปาก
ให้ภรรยาฟังบ้าง
สองสามีภรรยาปลื้มอกปลื้มใจกับบุญที่ได้อุปัฏฐากและถวายท่านแด่พระธรรมเสนาบดีเป็นอันมาก
ฝ่ายสามีรับประทานอาหารเช้าแล้ว
ก็ล้มตัวนอนหนุนตักภรรยาหลับไปด้วยความอ่อนเพลียแต่ใจปลื้มในบุญ
ครั้นเมื่อนายปุณณะตื่นนอนขึ้นมา
ก็ต้องกระพริบตาด้วยความตกตะลึง เมื่อท้องนาที่ไถไว้เมื่อเช้าตรู่
ได้ผันแปรเปลี่ยนเป็นทองคำ ทีแรกยังคิดว่าตนเองตาฝาด จึงสอบถามภรรยาก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง
เขายิ่งปลื้มใจในบุญ นึกถึงพระคุณของพระสารีบุตรเป็นอันมาก
ต่อจากนั้น เขาได้นำเรื่องนี้ไปแจ้งต่อพระราชา
เมื่อทำการแสดงทรัพย์สินแล้ว ปรากฏว่าทองคำทั้งหมดที่ขนมาจากท้องนา
มีปริมาณมากจนล้นพระลานหลวง กองท่วมเป็นภูเขาสูงขึ้นไป ๘๐ ศอก
เขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในกรุงราชคฤห์
บุญจากการถวายทานกับพระสารีบุตรได้ส่งผลในวันนั้นเอง
นายปุณณะและครอบครัวได้ฉลองตำแหน่งเศรษฐีด้วยการอาราธนาพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์มาทำบุญถวายภัตตาหารที่บ้านเป็นเวลา
๗ วัน หลังจากฟังพระบรมศาสดาแสดงธรรมแล้ว ก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันทั้งครอบครัว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.