วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
แต่ไหนแต่ไรมา พุทธศาสนาไม่ได้แยกขาดจากไสยศาสตร์
ถ้าไสยศาสตร์หมายถึงระบบความเชื่อที่ยอมรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์
และสิ่งลี้ลับเหนือปกติวิสัยของมนุษย์
แต่ถ้าไสยศาสตร์หมายถึง
การพยายามนำอำนาจของสิ่งเหล่านี้มาเป็นที่พึ่งในจิตใจ
หรือขอให้สิ่งเหล่านี้มาช่วยอำนวยอวยชัยให้ตนเองประสบแต่โชคลาภ ถ้าเป็นอย่างนี้ พุทธศาสนาไม่จัดว่าเป็นไสยศาสตร์ เพราะความจริงอย่างหนึ่งของมนุษย์มีอยู่ว่า
ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่
ในยามเป็นทุกข์อย่างน้อยบางครั้งบางเวลาก็ต้องการสิ่งปลอบประโลมใจยิ่งกว่าเหตุผล
ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงยอมรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์
และสิ่งลี้ลับเหนือปกติวิสัยมาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งใดคือที่พึ่งที่แท้จริงของชีวิต
เช่นเรื่องที่จะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
เรื่องอัคคิทัตสอนลูกศิษย์และบริวารของตนให้ถือเอาที่พึ่งแบบผิด ๆ
ในสมัยพุทธกาลชมพูทวีปมีลัทธิความเชื่อเกิดขึ้นอย่างมากมาย
หนึ่งในหลากหลายความเชื่อนั้นมีเกจิอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งชื่อ อัคคิทัต
เกจิอาจารย์ท่านนี้ได้ให้โอวาทแก่ลูกศิษย์หรือบริวารของตนว่า
" พวกท่านจงถึงภูเขาเป็นสรณะ, จงถึงป่าเป็นสรณะ, จงถึงอารามเป็นสรณะ, จงถึงต้นไม้เป็นสรณะ
เมื่อพวกท่านมีที่พึ่งเช่นนี้จักพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น"
เมื่อบริวารได้รับฟังคำสอนเช่นนี้ก็นำไปปฏิบัติเพราะคิดว่าที่พึ่งหรือสรณะเหล่านั้นจะช่วยให้หายจากความทุกข์
ในเวลาจวนรุ่งวันหนึ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอัคคิทัตพร้อมด้วยบริวารเข้ามาภายในข่ายพระญาณว่า
" ชนเหล่านี้แม้ทั้งหมด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต" ตอนเย็นของวันนั้น
พระพุทธองค์ได้ส่งพระโมคคัลลานะไปแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
เพื่อกำราบให้อัคคิทัตคลายจากมานทิฐิเสียก่อน พอถึงเวลาที่เหมาะสมพระพุทธองค์จึงเสด็จไปแสดงธรรมเพื่อให้อัคคิทัตและบริวารหายจากความหลงผิด
ซึ่งพระธรรมเทศนามีใจความสำคัญว่า
" อัคคิทัต
บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้นว่าเป็นที่พึ่งแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย,
ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง
ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้" ดังนี้
ในที่สุดของพระธรรมเทศนาอัคคิทัตและบริวารหายจากความหลงผิด
ได้บรรลุธรรมาพิศมัยโดยทั่วกัน
การเชื่อไสยศาสตร์ไม่จำเป็นต้องหลงงมงายเสมอไป
ประเด็นสำคัญอยู่ว่าเชื่ออย่างไร ถ้าเชื่อจนเลิกพึ่งพิงปัญญาหรือการกระทำของตนเอง
ก็ย่อมเป็นความงมงาย แต่เมื่อเชื่อแล้วเกิดกำลังใจที่จะทำความดี
เชื่อแล้วทำให้เกิดความเพียรพยายามที่จะประกอบคุณงานความดีให้ยิ่งๆขึ้นไป
การเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องงมงายอย่างแน่นอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
บทความทั้งหมด
-
▼
2016
(36)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น