วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
วัฒนธรรมตะวันตกไม่มีสอนว่า
เวลาผู้หญิงแต่งงานไปอยู่กินกับสามีแล้วต้องทำตัวอย่างไร
อาจเป็นเพราะเมื่ออยู่กันฉันสามีภรรยาไปสักระยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่าเข้ากันไม่ได้
ก็หย่าร้างกันไปไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร
ขณะที่วัฒนธรรมในสังคมไทยยุคก่อนการหย่าร้างกันเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้
โดยเฉพาะพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
ด้วยเหตุนี้พ่อแม่จึงต้องสอนลูกสาวเกี่ยวกับข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับผู้หญิงเมื่อต้องออกจากเรือนไปอยู่สกุลของฝ่ายชาย
ส่วนว่าข้อปฏิบัติที่บรรพบุรุษเราสอนลูกสาวมาจากไหนนั้น
คงหนีไม่พ้นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุคคหสูตรมีเนื้อความดังนี้
ครั้งหนึ่ง
ท่านอุคคหเศรษฐีทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนหลักปฏิบัติสำหรับลูกสาวของตน ที่กำลังจะออกเรือนไปอยู่สกุลของสามี
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนลูกสาวของเศรษฐีว่า (ขอยกเอาสำนวนในพระสูตรมาเลยนะครับ)
ดูกรกุมารี
เพราะเหตุนั้นแหละเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า
มารดาบิดาของสามีที่เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์หวังความเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู
เราจักตื่นก่อนท่านนอนทีหลังท่านคอยรับใช้ท่าน ประพฤติเป็นที่พอใจท่านพูดคำเป็นที่รักต่อท่าน เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพ
ของสามี คือ มารดา บิดาหรือสมณพราหมณ์ เราจักสักการะ เคารพ นับถือบูชา
เมื่อท่านมาถึงที่ก็จักต้อนรับด้วยที่นั่งหรือน้ำ ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล
ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า การงานภายในบ้านของสามี
คือ การทำขนสัตว์ หรือการทำผ้า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ๆ จักประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น
ๆ อาจทำ อาจจัด ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า
เราจักรู้การงานที่อันโตชนภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกรทำแล้วว่าทำแล้ว
ที่ยังไม่ได้ทำ ว่ายังไม่ได้ทำ จักรู้คนป่วยไข้ว่ามีกำลังหรือไม่มีกำลัง
และจักแบ่งของเคี้ยวของบริโภคให้ตามเหตุที่ควร
ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจักยังทรัพย์
ข้าวเปลือก เงิน หรือทองที่สามีหามาได้ให้คงอยู่ ด้วยการรักษา คุ้มครอง
จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมยไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ
ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามีผู้หมั่นเพียร
ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์
เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ทำสามีให้ขุ่นเคือง
ด้วยการประพฤติแสดงความหึงหวงสามี
และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามีรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
นารีใดย่อมประพฤติตามความพอใจของสามีอย่างนี้
นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาแน่นอน ฯ
สรุปก็คือ เมื่อต้องออกเรือนไปอยู่ในตระกูลของสามี ก็ต้องรู้จักบุคคลที่สามีเคารพรัก
ซึ่งได้แก่ มารดา บิดา ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง แม้กระทั้งลูกน้องของสามี
เราต้องเคารพ นับถือบูชาบุคคลเหล่านี้ด้วย เมื่อท่านเหล่านี้มาที่บ้าน
ก็ต้องรู้จักวิธีดูแลต้อนรับปฏิสันถารตามสมควรแก่ฐานะ ส่วนเรื่องการงานต่าง ๆ ภายในบ้านรวมทั้งทรัพย์สินเงินทองที่สามีหามาได้
ก็ต้องบริหารจัดการให้เป็น หญิงใดทำได้เช่นนี้
ถ้าสามียังต้องการจะหย่าร้างหรือแอบไปมีบ้านเล็กบ้านน้อยอยู่ แสดงว่าสามีคนนี้ใช้ไม่ได้
แล้วเขาจะถูกพ่อแม่ พี่น้องหรือคนอื่น ๆ ที่เราคอยดูแลนั้นแหละรุมตำหนิโดยที่เราไม่ต้องออกปากบ่นสักคำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
บทความทั้งหมด
-
▼
2016
(36)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น