วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559
On 23:04 by EForL No comments
Wat Pah Nanachat (WPN)The International Forest Monastery
Wat Pah Nanachat is a Buddhist monastery in Northeast Thailand, in the Theravada Forest Tradition.
It was established in 1975 by Ven. Ajahn Chah (1918-1992) as a branch monastery close to his own traditional forest monastery Wat Nong Pah Pong in Ubon Rachathani province, with Ven. Ajahn Sumedho, an American disciple of his, as the first abbot.
The monastery aims at providing English-speaking people the opportunity to train and practise the simple and peaceful lifestyle that the Buddha taught his monks in the forests over 2500 years ago.
Wat Pah Nanachat is a Buddhist monastery in Northeast Thailand, in the Theravada Forest Tradition.
It was established in 1975 by Ven. Ajahn Chah (1918-1992) as a branch monastery close to his own traditional forest monastery Wat Nong Pah Pong in Ubon Rachathani province, with Ven. Ajahn Sumedho, an American disciple of his, as the first abbot.
The monastery aims at providing English-speaking people the opportunity to train and practise the simple and peaceful lifestyle that the Buddha taught his monks in the forests over 2500 years ago.
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
แต่ไหนแต่ไรมา พุทธศาสนาไม่ได้แยกขาดจากไสยศาสตร์
ถ้าไสยศาสตร์หมายถึงระบบความเชื่อที่ยอมรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์
และสิ่งลี้ลับเหนือปกติวิสัยของมนุษย์
แต่ถ้าไสยศาสตร์หมายถึง
การพยายามนำอำนาจของสิ่งเหล่านี้มาเป็นที่พึ่งในจิตใจ
หรือขอให้สิ่งเหล่านี้มาช่วยอำนวยอวยชัยให้ตนเองประสบแต่โชคลาภ ถ้าเป็นอย่างนี้ พุทธศาสนาไม่จัดว่าเป็นไสยศาสตร์ เพราะความจริงอย่างหนึ่งของมนุษย์มีอยู่ว่า
ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่
ในยามเป็นทุกข์อย่างน้อยบางครั้งบางเวลาก็ต้องการสิ่งปลอบประโลมใจยิ่งกว่าเหตุผล
ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงยอมรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์
และสิ่งลี้ลับเหนือปกติวิสัยมาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งใดคือที่พึ่งที่แท้จริงของชีวิต
เช่นเรื่องที่จะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
เรื่องอัคคิทัตสอนลูกศิษย์และบริวารของตนให้ถือเอาที่พึ่งแบบผิด ๆ
ในสมัยพุทธกาลชมพูทวีปมีลัทธิความเชื่อเกิดขึ้นอย่างมากมาย
หนึ่งในหลากหลายความเชื่อนั้นมีเกจิอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งชื่อ อัคคิทัต
เกจิอาจารย์ท่านนี้ได้ให้โอวาทแก่ลูกศิษย์หรือบริวารของตนว่า
" พวกท่านจงถึงภูเขาเป็นสรณะ, จงถึงป่าเป็นสรณะ, จงถึงอารามเป็นสรณะ, จงถึงต้นไม้เป็นสรณะ
เมื่อพวกท่านมีที่พึ่งเช่นนี้จักพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น"
เมื่อบริวารได้รับฟังคำสอนเช่นนี้ก็นำไปปฏิบัติเพราะคิดว่าที่พึ่งหรือสรณะเหล่านั้นจะช่วยให้หายจากความทุกข์
ในเวลาจวนรุ่งวันหนึ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอัคคิทัตพร้อมด้วยบริวารเข้ามาภายในข่ายพระญาณว่า
" ชนเหล่านี้แม้ทั้งหมด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต" ตอนเย็นของวันนั้น
พระพุทธองค์ได้ส่งพระโมคคัลลานะไปแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
เพื่อกำราบให้อัคคิทัตคลายจากมานทิฐิเสียก่อน พอถึงเวลาที่เหมาะสมพระพุทธองค์จึงเสด็จไปแสดงธรรมเพื่อให้อัคคิทัตและบริวารหายจากความหลงผิด
ซึ่งพระธรรมเทศนามีใจความสำคัญว่า
" อัคคิทัต
บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้นว่าเป็นที่พึ่งแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย,
ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง
ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้" ดังนี้
ในที่สุดของพระธรรมเทศนาอัคคิทัตและบริวารหายจากความหลงผิด
ได้บรรลุธรรมาพิศมัยโดยทั่วกัน
การเชื่อไสยศาสตร์ไม่จำเป็นต้องหลงงมงายเสมอไป
ประเด็นสำคัญอยู่ว่าเชื่ออย่างไร ถ้าเชื่อจนเลิกพึ่งพิงปัญญาหรือการกระทำของตนเอง
ก็ย่อมเป็นความงมงาย แต่เมื่อเชื่อแล้วเกิดกำลังใจที่จะทำความดี
เชื่อแล้วทำให้เกิดความเพียรพยายามที่จะประกอบคุณงานความดีให้ยิ่งๆขึ้นไป
การเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องงมงายอย่างแน่นอน
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
วัฒนธรรมตะวันตกไม่มีสอนว่า
เวลาผู้หญิงแต่งงานไปอยู่กินกับสามีแล้วต้องทำตัวอย่างไร
อาจเป็นเพราะเมื่ออยู่กันฉันสามีภรรยาไปสักระยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่าเข้ากันไม่ได้
ก็หย่าร้างกันไปไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร
ขณะที่วัฒนธรรมในสังคมไทยยุคก่อนการหย่าร้างกันเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้
โดยเฉพาะพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
ด้วยเหตุนี้พ่อแม่จึงต้องสอนลูกสาวเกี่ยวกับข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับผู้หญิงเมื่อต้องออกจากเรือนไปอยู่สกุลของฝ่ายชาย
ส่วนว่าข้อปฏิบัติที่บรรพบุรุษเราสอนลูกสาวมาจากไหนนั้น
คงหนีไม่พ้นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุคคหสูตรมีเนื้อความดังนี้
ครั้งหนึ่ง
ท่านอุคคหเศรษฐีทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนหลักปฏิบัติสำหรับลูกสาวของตน ที่กำลังจะออกเรือนไปอยู่สกุลของสามี
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนลูกสาวของเศรษฐีว่า (ขอยกเอาสำนวนในพระสูตรมาเลยนะครับ)
ดูกรกุมารี
เพราะเหตุนั้นแหละเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า
มารดาบิดาของสามีที่เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์หวังความเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู
เราจักตื่นก่อนท่านนอนทีหลังท่านคอยรับใช้ท่าน ประพฤติเป็นที่พอใจท่านพูดคำเป็นที่รักต่อท่าน เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพ
ของสามี คือ มารดา บิดาหรือสมณพราหมณ์ เราจักสักการะ เคารพ นับถือบูชา
เมื่อท่านมาถึงที่ก็จักต้อนรับด้วยที่นั่งหรือน้ำ ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล
ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า การงานภายในบ้านของสามี
คือ การทำขนสัตว์ หรือการทำผ้า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ๆ จักประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น
ๆ อาจทำ อาจจัด ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า
เราจักรู้การงานที่อันโตชนภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกรทำแล้วว่าทำแล้ว
ที่ยังไม่ได้ทำ ว่ายังไม่ได้ทำ จักรู้คนป่วยไข้ว่ามีกำลังหรือไม่มีกำลัง
และจักแบ่งของเคี้ยวของบริโภคให้ตามเหตุที่ควร
ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจักยังทรัพย์
ข้าวเปลือก เงิน หรือทองที่สามีหามาได้ให้คงอยู่ ด้วยการรักษา คุ้มครอง
จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมยไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ
ดูกรกุมารีเธอพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ
สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามีผู้หมั่นเพียร
ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์
เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ทำสามีให้ขุ่นเคือง
ด้วยการประพฤติแสดงความหึงหวงสามี
และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามีรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
นารีใดย่อมประพฤติตามความพอใจของสามีอย่างนี้
นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาแน่นอน ฯ
สรุปก็คือ เมื่อต้องออกเรือนไปอยู่ในตระกูลของสามี ก็ต้องรู้จักบุคคลที่สามีเคารพรัก
ซึ่งได้แก่ มารดา บิดา ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง แม้กระทั้งลูกน้องของสามี
เราต้องเคารพ นับถือบูชาบุคคลเหล่านี้ด้วย เมื่อท่านเหล่านี้มาที่บ้าน
ก็ต้องรู้จักวิธีดูแลต้อนรับปฏิสันถารตามสมควรแก่ฐานะ ส่วนเรื่องการงานต่าง ๆ ภายในบ้านรวมทั้งทรัพย์สินเงินทองที่สามีหามาได้
ก็ต้องบริหารจัดการให้เป็น หญิงใดทำได้เช่นนี้
ถ้าสามียังต้องการจะหย่าร้างหรือแอบไปมีบ้านเล็กบ้านน้อยอยู่ แสดงว่าสามีคนนี้ใช้ไม่ได้
แล้วเขาจะถูกพ่อแม่ พี่น้องหรือคนอื่น ๆ ที่เราคอยดูแลนั้นแหละรุมตำหนิโดยที่เราไม่ต้องออกปากบ่นสักคำ
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
On 01:59 by EForL No comments
ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ได้เสด็จไปเมืองโกสัมพี ในเมืองนั้นมีพระมเหสีพระองค์หนึ่งชื่อว่ามาคันทิยา
พระมเหสีพระองค์นี้อาฆาตแค้นกับพระพุทธองค์เป็นการส่วนตัว เมื่อพระนางทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จมาที่เมืองนี้
ก็รีบไปจ้างพวกเจ้าลัทธิต่าง ๆ พวกกรรมกร พวกทาสที่เป็นมิจฉาทิฐิ ให้พากันมาด่าทอพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์
ด้วยถ้อยคำหยาบคายต่าง ๆ นานา
พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากทนฟังคำด่าทอไม่ไหวจึงกราบทูลให้พระพุทธองค์พาภิกษุสงฆ์เดินทางออกจากโกสัมพี
แต่พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบกับพระอานนท์ว่า
"อานนท์!
ถ้าหากว่าเราไปสู่ที่อื่นแล้วถูกคนในที่นั้น ๆ กระทำทารุณด้วยการด่าทอต่อเราอีกจะทำอย่างไร?"
"ถ้าเป็นอย่างนั้น พวกเราจักไปสู่ที่อื่น ๆ อีก"
"ถ้าในที่แห่งใหม่นี้ เราก็ยังถูกด่าทอสบประมาทอยู่อีก
เราจะทำอย่างไรต่อไป"
"พวกเราก็ควรไปสู่ที่อื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ทรงนิ่งอยู่ขณะหนึ่ง แล้วทรงเหลียวดูพระอานนท์ด้วยสายพระเนตรที่อ่อนโยนอย่างยิ่ง
พร้อมกับตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์! อดทนให้เหมาะ ๆ
เสียสักหน่อยเท่านั้นก็จะตัดความยุ่งยากทั้งหมด
มันไม่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะหาพบที่แห่งใหม่ ซึ่งไม่มีใครด่าทอในโอกาสขางหน้า
แต่มันเป็นที่แน่นอนว่า เราจะหาพบที่เช่นนั้นได้ในที่ตรงนี้เองหากว่าเราอดทนอดกลั้นกันเสียบ้าง
ด้วยการอดทนอดกลั้นนี่เองนักปราชญ์ทั้งหลายแม้ในกาลก่อนก็สามารถเอาชนะศัตรูได้โดยสิ้นเชิง"
"อานนท์เอ๋ย จงดูช้างซึ่งบุคคลพาเข้าไปสู่สนามรบ
มันพุ่งตัวเข้าไปในท่ามกลางการต่อสู้อันชุลมุนวุ่นวาย มันไม่เอาใจใส่ต่อลูกศรหรือหอกซัดซึ่งคนทั้งหลายพุ่งซัดเข้ามาโดยรอบทิศ
มันตั้งหน้ากระโจนเข้าใส่ข้าศึก ทำลายสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเข้ามาเบื้องหน้าให้ราบ
อานนท์ ตถาคตจักอยู่ในที่นี่
จักเผยแผ่คำสอนที่ถูกต้องด้วยกำลังกายและกำลังใจที่มีทั้งหมดอย่างไม่หยุดยั้ง
เพื่อปลดเปลื้องกิเลสอันชั่วช้าที่ติดแน่นอยู่ในจิตใจของคนเหล่านั้นให้หมดสิ้นไป
ตถาคตจะไม่เอาใจใส่แม้แต่หน่อยเดียวในคำกล่าวร้ายของฝ่ายปฏิปักษ์ซึ่งแกล้งกล่าวร้ายต่อเรา
มันเหมือนกับคนที่ถ่มน้ำลายขึ้นไปบนฟ้าเพื่อให้ฟ้าเปื้อน
แต่น้ำลายกลับตกมารดหน้าของผู้ถ่มนั่นนั้นเอง นี้เป็นฉันใด พวกที่น่าสมเพชซึ่งแกล้งด่าทอเราก็จักประสพภัยกับตัวเองฉันนั้น
เมื่อประชาชนชาวโกสัมพีได้เห็นพระพุทธองค์
และภิกษุสงฆ์มีความอดทนอดกลั้นต่อถ้อยคำกล่าวร้ายของบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลายได้เช่นนั้น
ก็พากันเลื่อมใสและยอมรับนับถือในคำสอนของพระพุทธองค์เป็นอันมาก
อ.ขุ.ธ. เล่ม
๔๐ หน้า ๒๘๕- ๒๘๗ (มมก.)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
บทความทั้งหมด
-
▼
2016
(36)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.