วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558
เรามาช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่คู่แผ่นดินนี้ตราบนานเท่านาน
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า…
วัฒนธรรมมีส่วนช่วยสร้างชาติ พัฒนาราษฎร์เรื่องธรรมลํ้าค่าผล
วัฒนธรรมนำไทยไม่อับจน ค่ามากล้นดลไทยให้เจริญ
ในปัจจุบันการส่งข้อมูลข่าวสารสะดวกรวดเร็วมาก เพราะว่ามี social media เป็นสื่อกลางในการส่งสาร
แต่ว่าจะมีสักกี่คนที่ใช้ข้อดีตรงจุดนี้ในการประชาสัมพันธ์
ข้อมูลข่าวสารหรือกิจกรรมที่เป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยของเราบ้าง
ในช่วงวันออกพรรษา (ปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๗ ตุลาคม) ของแต่ละจังหวัด
แต่ละท้องที่ก็จัดงานเพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งประเพณีที่สำคัญและมักจัดกันทุก
ๆ จังหวัดในเทศกาลงานออกพรรษานี้ก็คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ
คำว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก คือ
วันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
หลังจากที่ไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา
ครั้นออกพรรษาแล้วได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับมายังโลกมนุษย์ ณ
ประตูเมืองสังกัสสนคร ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๑
ในวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงมานั้น ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีสว่างไสวเรืองรองไปทั่ว
และด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธองค์ทำให้ชาวสวรรค์ มนุษย์ สัตว์นรก
ได้เห็นกันหมดด้วยตาเนื้อ
เมื่อได้เห็นความอัศจรรย์นั้นต่างเกิดมหาปีติ
พากันตั้งความปรารถนาที่จะเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้ากันอย่างมากมาย
แม้แต่มดซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานยังมีความรู้สึกนึกคิดปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าด้วย
เหล่าพญานาคที่ได้เห็นความอัศจรรย์นี้เพื่อเป็นการระลึกนึกความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ต่างพากันออกมาพ่นดวงไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา (ปัจจุบันก็ยังมีอยู่)
ส่วนประชาชนที่มารอรับ ก็พร้อมใจกันทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้
จึงตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนลงบาตร ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ชื่อว่า
"ตักบาตรเทโวโรหณะ "
เราชาวพุทธเมื่อถึงวันเทโวโรหณะ นิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดใกล้บ้าน
โดยทั่วไปมีขนบธรรมเนียมปฏิบัติตนดังนี้
๑. เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้
คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่
พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ
ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา
ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก
เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์
๒. หลักจากตักบาตรแล้ว
มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล
๓. ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส
เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส
๔. แผ่เมตตา
และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ส่วนวัดที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการตักบาตรเทโวโรหณะ
ได้แก่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
พระพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นมีพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งสมัยพุทธกาลจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับประยงค์ แสนบุราญ ได้กล่าวไว้ว...
บทความทั้งหมด
-
►
2016
(36)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น