วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากสถานที่บรรลุธรรม เพื่อโปรดปัจจวัคคีย์ที่
ป่าอิสิปตนมฤคทายาวัน ระหว่างทางอุปกาชีวกผู้เป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา 
เห็นพระพุทธองค์นั่งอยู่ใต้ต้นไม้แห่งหนึ่ง มีผิวพรรณผ่องใส่เลยเข้ามาถามว่า

 "ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบหลักธรรมข้อไหน ? "

พระพุทธองค์ตอบด้วยความองอาจ ประดุจพญาราชสีห์บันลือสีหนาทว่า

                                        "เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง...
                                 พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
                                 เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึง
                                 อ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเรา
                                 ก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับ
                                 ทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก
                                 เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียว
                                 เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ "


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวกทูลว่า เป็นให้พอเถิด ท่านควรเป็นผู้ชนะหาที่สุดมิได้  ดังนี้แล้วสั่นศีรษะ จากนั้นก็เดินหลีกไป

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า 
คนไม่มีบุญแม้เจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่ยากฟังธรรม

ศาสนาหรือความเชื่อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ ลองพิจารณาดูแล้วไม่เป็นเหตุเป็นผลเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็ยังมีคนเคารพนับถือกันอย่างมากมาย 

นักบวชในศาสนานั้น ๆ บางทีก็เจอคำสอนที่ดีกว่าคำสอนเดินของตน 
แต่กลับไม่ยอมรับหรือเปลี่ยนความเชื่อ
เพราะความถือตัว และสำคัญว่าคำสอนของเราก็แน่ เช่น ชฏิล ๓ พี่น้อง
ทั้งสามท่านนี้ก่อนที่จะมาเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตรถือตัวเลยทีเดียว 
แต่เนื่ืองจากได้ทำบุญเก่ามาดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงหาวิธีปราบความถือตัว
ด้วยการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ถึง ๓,๕๐๐ อย่าง แต่แม้จะแสดงมากขนาดนี้
ชฎิลอุรุเวลกัสสปผู้เป็นพี่ใหญ่ก็ยังบอกว่า 
"พระพุทธเจ้ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราอย่างเรา" 
พระพุทธองค์เลยพูดแทงใจดำให้ได้คิดว่า 
"อุรุเวลกัสปะท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์ 
แม้วิธีการปฏิบัติเพื่อให้เป็นพระอรหันต์ท่านก็ไม่รู้ ฯลฯ " 
เมื่อพูดดังนี้ทำให้ได้คิด แล้วก็คิดได้ทิ้งความอวดดื้อถือดี
ก้มกราบขอบวชแทบเท้าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด  

สรุปแล้ว สายบุญเก่าที่เคยทำมากับพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสำคัญ 
ปัจจุบันแม้เกิดมาไม่ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
แต่ก็ได้พบพระพุทธศาสนาทำให้เราได้ฟังธรรมบำเพ็ญบุญ


วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

On 01:06 by EForL   No comments
๑. ภรรยาสินไถ่ คือ หญิงที่ชายเอาเงินซื้อมาอยู่ร่วมกัน
๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความสมัครใจ คือ หญิงที่เป็นคู่รักตกลงใจมีอยู่กินร่วมกัน
๓. ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ คือ หญิงที่ย่อมมาอยู่ด้วยเพราะชายยกสมบัติให้
๔. ภรรยาที่อยู่เพราะผ้า คือ หญิงที่ย่อมมาอยู่ด้วยเพราะชายมอบผ้าให้ (เข้าใจว่าสมัยก่อนผ้าหายาก)
๕. ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส คือ หญิงที่ได้เข้าพิธีแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียม
๖. ภรรยาที่ถูกปลงเทริด คือ หญิงที่ประเพณีให้สวมใส่เครื่องประดับอะไรสักอย่างหนึ่ง เมื่อถูกชายใดถอดออกก็ต้องไปอยู่กับคนนั้น
๗. ภรรยาทาส คือ หญิงที่เป็นทั้งคนรับใช้และเป็นเมีย
๘. ภรรยาที่เป็นเหมือนแม่ คือ หญิงที่ค่อยดูแลสามีเสมือนแม่ดูแลบุตร
๙. ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน คือ หญิงที่เป็นทั้งเพื่อนคุย เพื่อนกิน เพื่อนเล่น พร้อมกับเป็นเมียด้วย

๑๐. ภรรยาชั่วคราว คือ หญิงที่อยู่กันกับชายเป็นครั้งคราว

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

On 02:25 by EForL   No comments
สมัยใด ที่ผู้ปกครองประเทศไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น พวกข้าราชการก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม  แม้พวกนักวิชาการและผู้ประกอบการก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม  แม้ที่สุดประชาชนก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อเป็นดังนี้ พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ  ส่งผลให้คืนและวันหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ
เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ ฤดูและปีก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ ลมย่อมพัดไม่สม่ำเสมอ เมื่อลมพัดไม่สม่ำเสมอ ลมก็เดินผิดทางไม่สม่ำเสมอย่อมพัดเวียนไป เมื่อลมเดินผิดทางไม่สม่ำเสมอพัดเวียนไป เทวดาย่อมกำเริบ เมื่อเทวดากำเริบฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกัน มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกไม่เสมอกัน ย่อมเป็นผู้มีอายุน้อย มีผิวพรรณเศร้าหมองมีกำลังน้อย มีอาพาธมาก "

ธัมมิกสูตร มมก. เล่ม 35 หน้า 223














จากพระสูตรนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นผลมาจากศีลธรรมของมวลมนุษย์นั่นเอง ถ้ายุคสมัยใดมนุษย์มีศีลธรรมสูง สภาวะแวดล้อมต่างๆก็จะเอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข แต่ถ้ายุคใดที่ศีลธรรมเสื่อมถอย ธรรมชาติจะแปรปรวน ภัยพิบัติทางธรรมชาติก็จะมีมาก พฤติกรรมของมนุษย์จึงเป็นตัวกำหนดความเป็นไปของสภาพดินฟ้าอากาศ และเมื่อสภาพดินฟ้าอากาศเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม ก็จะส่งผลย้อนกลับมาให้โทษแก่มวลมนุษย์อีกที
ภาวะโลกร้อนเป็นผลจากความโลภของมนุษย์ที่มุ่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของธรรมชาติ มุ่งกอบโกยทรัพยากรต่างๆเข้าสู่ตนเอง สู่กลุ่มของตน สู่บริษัทของตน สู่ประเทศของตนโดยไม่มีความยับยั้งชั่งใจ การมุ่งแก้ไขที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่สามารถแก้ไขหรือลดทอนความรุนแรงของภัยพิบัติได้เลย เพราะการแก้ปัญหาให้ได้ผลต้องแก้ที่ต้นเหตุที่แท้จริงคือขจัดความโลภที่
เกินขอบเขตของมนุษย์ ดังนั้น การฟื้นฟูศีลธรรมโลกจึงเป็นภาวะเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ เพราะหากไม่ฟื้นฟูศีลธรรมซึ่งเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เลย