วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ด้วยภาวะความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเข้าใจเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ
และเรื่องการทำทานรักษาศีลทำสมาธิภาวนาอย่างถ่องแท้
เมื่อไม่เข้าใจ ก็ไม่เกิดศรัทธาอยากทำทานรักษาศีล
และเจริญภาวนา
ซึ่งปัญหาความไม่เข้าเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาล
ดังเรื่องราวต่อไปนี้
มีเสนาบดีท่านหนึ่งไม่เห็นประโยชน์ของการให้ทาน
จึงเข้าไปถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
อานิสงค์แห่งทานในปัจจุบันมีบ้างไหม?
ขอบคุณภาพจากเว็ป dmc.tv
ก่อนที่พระพุทธองค์จะตอบ ท่านถามย้อนกลับไปว่า
ถ้าพระอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกพระองค์หนึ่ง จะโปรดใครสักคน
ท่านจะเลือกไปโปรดใครก่อนระหว่างคนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ
ไม่เคยให้อะไรแก่ใครเลย
ชอบพูดส่อเสียด กับคนที่เชื่อเรื่องบาปบุญ ชอบให้สิ่งของ
พูดจาดีมีสัมมาคารวะ
-----
เสนาบดีท่านนั้นตอบว่า ก็ต้องมาโปรดคนที่เชื่อเรื่องบาปบุญก่อนสิ
พระเจ้าข้า
-----
พระพุทธองค์ถามต่อไปว่า แล้วเครดิต (กิตติศัพท์อันงาม) ของทั้งสองคนนี้
ใครน่าเชื่อถือกว่า
-----
เสนาบดีตอบว่า คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ ไม่ให้สิ่งของหรือช่วยเหลือแก่ใครๆ
เลยจะไปมีความน่าเชื่อถือได้อย่าง
พระเจ้าข้า
-----
พระสัมมาฯ ถามต่อไปอีกว่า ระหว่างคนทั้งสองนี้
เวลาเข้าไปคบค้าสมาคมกับกลุ่มคนในระดับต่างๆ คนไหนจะดูดีมีสง่าราศี
หรือมีความองอาจมากกว่ากัน
-----
เสนาบดีตอบว่า ก็คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ
ไม่เคยให้สิ่งของอะไรแก่ใครๆ
จักเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินได้อย่างไร
-----
เมื่อทั้งสองคนนี้ละจากโลกไป ใครควรได้ไปอยู่สวรรค์
เสนาบดีตอบด้วยความมั่นใจว่า
คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ มีความตระหนี่ถี่เหนียว
ชอบพูดส่อเสียด เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไรได้
ส่วนคนที่มีศรัทธา
เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน เมื่อตายไปเขาควรจะได้ไปอยู่ในสุคติโลกสวรรค์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสยืนยันอีกทีว่า เป็นอย่างนั้นแหละ
ท่านเสนาบดี
-----
ดูก่อนท่าน เสนาบดี อานิสงค์ในปัจจุบัน ๖ ประการ ของการให้ทาน คือ
๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
๒. สัปปบุรุษผู้สงบ ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓. ย่อมได้ฟังพระสัจธรรมจากสัปปบุรุษ
๔. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรทั่วไป
๕. ผู้ให้ทาน ย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๖. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
- สีหสูตร 37/173-177 มมก.
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน"
ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน
ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่นิดเดียว
ดังเช่นพุทธดำรัสที่ว่า...
ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้
หากสัตว์เหล่านั้นยังไม่ได้ให้ทานเสียก่อน ก็จะไม่พึงบริโภค
อนึ่ง มลทินคือความตระหนี่จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น
แม้ก้อนข้าวของสัตว์เหล่านั้นจะพึงเหลืออยู่คำสุดท้ายก็ตาม
ถ้าปฏิคาหกของพวกเขายังมีอยู่
หากสัตว์เหล่านั้นยังไม่ได้แบ่งคำข้าวคำสุดท้ายแม้นั้น
(ให้แก่ปฏิคาหก) ก็จะไม่บริโภค.
ภิกษุทั้งหลาย !
แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้
ฉะนั้นสัตว์เหล่านั้นจึงไม่ได้ให้ทานก่อนบริโภค อนึ่ง มลทินคือความตระหนี่จึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น.
-บาลี ขุ. ขุ. ๒๕/๒๔๓/๒๐๔.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
บทความทั้งหมด
-
▼
2016
(36)
- ► กุมภาพันธ์ (1)
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.