วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สิ่งที่ผู้หญิงต้องรู้เมื่อเข้าไปอยู่ในตระกูลของสามี
คนเฒ่าคนแก่ตั้งแต่โบราณ เมื่อลูกสาวแต่งงานจะต้องออกเหย้าออกเรือน
ไปอยู่ในตระกูลของสามี
ท่านเหล่านั้น มักจะอบรมสั่งสอนลูกสาวของตัวเอง
โดยให้หลักปฏิบัติไว้ ๑๐ ประการ ได้แก่
๑) อย่านำเรื่องไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง
๒) เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร
อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง
๓) ควรให้แก่คนที่ยืมของไปใช้แล้วนำมาส่งคืน
๔) ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปใช้แล้วไม่นำมาส่งคืน
๕) เมื่อมีญาติมิตรจะเป็นคนยากดีมีจนอย่างไรมาขอความช่วยเหลือ
รู้อยู่ว่าถ้าให้ไปแล้วอาจจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้
๖) ไม่นั่งเกะกะขวางหู ขวางตาพ่อผัว แม่ผัวและสามี
๗) เมื่อถึงยามต้องกินต้องใช้ ควรจัดให้พ่อผัว
แม่ผัวและสามีบริโภคก่อนแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง
๘) ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว
แม่ผัวและสามีเป็นบุคคลสำคัญจำเป็นจะต้องบำรุงดูแล
๙) ให้ความเคารพยำเกรงพ่อผัว แม่ผัว
และสามีตลอดจนญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายสามี
๑๐) ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัว
และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม
หลักปฏิบัติทั้ง ๑๐ ประการนี้
ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากในสังคมปัจจุบัน
สำหรับท่านผู้หญิงคงอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องทำขนาดนี้ด้วย
เลือกปฏิบัติเพียงข้อเดียวไม่ได้หรือ
เรื่องนี้ก็ไม่อาจจะรู้ได้
แต่รู้อยู่อย่างหนึ่งคือ "ความรักความใคร่ไม่กี่ปีก็จางหาย
คงเหลือไว้แต่ความดีของศรีภรรยาที่คงทน"
ถ้าฝ่ายหญิงทำหน้าตามที่ได้กล่าวมานี้อย่างดีเยี่ยมผู้ชายคงไม่กล้านอกใจแน่
ถ้าชายไหนได้ภรรยาที่ดีเช่นนี้แล้วยังนอกใจ
แสดงว่าคนนี้เลวแต่กำเนิดจริงๆ
วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559
บทสวดมนต์อิติปิโสฯ
ถูกยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะ
บทสวดมนต์อิติปิโสฯ แต่ล่ะตัวอักษรจะมีความย่อของ 1
บท เช่น อิ = 1 บท , ติ = 1 บท ดังตัวอย่างด้านล่าง
"#อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต
โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สวดเท่าอายุเกินอายุหนึ่งจบนะคับ
๑. #อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง
อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง
(อิ แปล จงหมั่นภาวนา ป้องกันศัสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทำให้แคล้วคลาด
นิราศไพรี สิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา)
๒. #ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
(ติ แปล ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา
ทั้งปอปทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน)
๓. #ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม
ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง
(ปิ แปล ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์
ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา)
๔. #โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก
โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง
(โส แปล ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้ายศัตรูทั้งหลาย
แคล้วคลาดห่างไกล)
๕. #ภะ. ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา
ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง
(ภะ แปล จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาด มิอาจทำได้
พินาศยับไปด้วยพระคาถา)
๖. #คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง
คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง
(คะ แปล ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มาย่ำยี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี
มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา)
๗. #วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง
วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง
(วา แปล บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำๆ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนีอู้
ไม่คิดต่อสู้ออกได้หายไป)
๘. #อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน
อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง
(อะ แปล ให้ภาวนา กันเสือช้างมา ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง
สิ้นทั้งชบวนจระเข้ประมวล สัตว์ร้ายนานา)
๙. #ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน
รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง
(ระ แปล ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้
มิให้เข้ามาถูกต้องกายา พินาศสูญไป)
๑๐. #หัง. หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง
หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง
(หัง แปล ให้ภาวนา ในเมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู
ใจหู่ครั่นคร้ามไม่คิดพยายาม ทำร้ายเราแล)
๑๑. #สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง
สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง
(สัม แปล ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านให้รำพัน เมื่อจะเข้าสู่
เหล่าศัตรูสรรพหมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธิ์)
๑๒. #มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต
มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง
(มา แปล ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกไซร้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรงมีใจอ่อนทันที
ไม่เย่อไม่หยิ่ง)
๑๓. #สัม. สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน
สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง
(สัม แปล สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริงจริง สำหรับเสกยา
ปัญญาดียิ่งสุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน)
๑๔. #พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง
พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง
(พุท แปล ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรไร
ก็ไม่คะคานแสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา)
๑๕. #โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง
โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง
(โธ แปล ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุนัขหมา ใช้ป้องกันภัย
สัตว์ร้ายนานาไม่อาจเข้ามาย่ำยีบาทา)
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559
พระพุทธองค์ตรัสเล่าถึงอานิสงค์
หรือผลที่เกิดจากการเจริญเมตตาว่ามีผลมาก
ซึ่งถ้านำมาเรียงเป็นข้อๆ จะได้ ๑๑ ประการ ดังนี้
๑. หลับเป็นสุข คือ หลับสบาย หลับสนิท
๒. ตื่นเป็นสุข คือ เมื่อตื่นขึ้นมาก็สบายตัว หายอ่อนเพลีย ไม่มีอาการง่วงติดต่ออีก
๓. ไม่ฝันร้าย คือ จะไม่ฝันเห็นสิ่งเลวร้ายทำให้สะดุ้งตื่นกลางคัน
ถ้าฝันก็เป็นฝันดี
๔. เป็นที่รักของคนทั่วไป คือ จะเป็นคนมีเสน่ห์
ไปที่ใดก็ปราศจากศัตรูผู้คิดร้าย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย คือ แม้สัตว์ต่าง ๆ ก็รักผู้แผ่เมตตา
ไม่ขบกัด ไม่ทำร้าย
๖. เทวดารักษาคุ้มครอง คือ
จะเดินทางไปไหนมาไหนเทวดาจะคุ้มครองให้ความปลอดภัยตลอดเวลา จะไม่ประสบเคราะห์ภัย
๗. ไฟ ศาสตรา ยาพิษ ไม่อาจจะมาแผ้วพานได้
๘. จิตเป็นสมาธิเร็ว คือ ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ ถ้าทำสมาธิ
จิตจะสงบนิ่งได้เร็ว
๙. หน้าตาผิวพรรณจะผ่องใส คือ ผิวพรรณจะมีน้ำมีนวลมีเสน่ห์เรียก
ความสนใจได้
๑๐.ไม่หลงเวลาตาย คือ เวลาใกล้ตาย จะไม่หลงเพ้อ หรือไม่ดิ้นทุรนทุราย
จะสิ้นใจอย่างสงบเหมือนนอนหลับไป
๑๑.เมื่อไม่อาจบรรลุธรรมชั้นสูง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
เพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์เป็นที่รักเป็นที่นับถือของผู้อื่น
หรือหวังความสุขความสงบความเยือกเย็นแห่งจิตใจ จึงควรแผ่เมตตากันดูเถิด
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เมตตาสูตร
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ด้วยภาวะความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเข้าใจเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ
และเรื่องการทำทานรักษาศีลทำสมาธิภาวนาอย่างถ่องแท้
เมื่อไม่เข้าใจ ก็ไม่เกิดศรัทธาอยากทำทานรักษาศีล
และเจริญภาวนา
ซึ่งปัญหาความไม่เข้าเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาล
ดังเรื่องราวต่อไปนี้
มีเสนาบดีท่านหนึ่งไม่เห็นประโยชน์ของการให้ทาน
จึงเข้าไปถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
อานิสงค์แห่งทานในปัจจุบันมีบ้างไหม?
ขอบคุณภาพจากเว็ป dmc.tv
ก่อนที่พระพุทธองค์จะตอบ ท่านถามย้อนกลับไปว่า
ถ้าพระอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกพระองค์หนึ่ง จะโปรดใครสักคน
ท่านจะเลือกไปโปรดใครก่อนระหว่างคนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ
ไม่เคยให้อะไรแก่ใครเลย
ชอบพูดส่อเสียด กับคนที่เชื่อเรื่องบาปบุญ ชอบให้สิ่งของ
พูดจาดีมีสัมมาคารวะ
-----
เสนาบดีท่านนั้นตอบว่า ก็ต้องมาโปรดคนที่เชื่อเรื่องบาปบุญก่อนสิ
พระเจ้าข้า
-----
พระพุทธองค์ถามต่อไปว่า แล้วเครดิต (กิตติศัพท์อันงาม) ของทั้งสองคนนี้
ใครน่าเชื่อถือกว่า
-----
เสนาบดีตอบว่า คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ ไม่ให้สิ่งของหรือช่วยเหลือแก่ใครๆ
เลยจะไปมีความน่าเชื่อถือได้อย่าง
พระเจ้าข้า
-----
พระสัมมาฯ ถามต่อไปอีกว่า ระหว่างคนทั้งสองนี้
เวลาเข้าไปคบค้าสมาคมกับกลุ่มคนในระดับต่างๆ คนไหนจะดูดีมีสง่าราศี
หรือมีความองอาจมากกว่ากัน
-----
เสนาบดีตอบว่า ก็คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ
ไม่เคยให้สิ่งของอะไรแก่ใครๆ
จักเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินได้อย่างไร
-----
เมื่อทั้งสองคนนี้ละจากโลกไป ใครควรได้ไปอยู่สวรรค์
เสนาบดีตอบด้วยความมั่นใจว่า
คนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ มีความตระหนี่ถี่เหนียว
ชอบพูดส่อเสียด เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไรได้
ส่วนคนที่มีศรัทธา
เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน เมื่อตายไปเขาควรจะได้ไปอยู่ในสุคติโลกสวรรค์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสยืนยันอีกทีว่า เป็นอย่างนั้นแหละ
ท่านเสนาบดี
-----
ดูก่อนท่าน เสนาบดี อานิสงค์ในปัจจุบัน ๖ ประการ ของการให้ทาน คือ
๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
๒. สัปปบุรุษผู้สงบ ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓. ย่อมได้ฟังพระสัจธรรมจากสัปปบุรุษ
๔. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรทั่วไป
๕. ผู้ให้ทาน ย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๖. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
- สีหสูตร 37/173-177 มมก.
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน"
ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน
ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่นิดเดียว
ดังเช่นพุทธดำรัสที่ว่า...
ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้
หากสัตว์เหล่านั้นยังไม่ได้ให้ทานเสียก่อน ก็จะไม่พึงบริโภค
อนึ่ง มลทินคือความตระหนี่จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น
แม้ก้อนข้าวของสัตว์เหล่านั้นจะพึงเหลืออยู่คำสุดท้ายก็ตาม
ถ้าปฏิคาหกของพวกเขายังมีอยู่
หากสัตว์เหล่านั้นยังไม่ได้แบ่งคำข้าวคำสุดท้ายแม้นั้น
(ให้แก่ปฏิคาหก) ก็จะไม่บริโภค.
ภิกษุทั้งหลาย !
แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้
ฉะนั้นสัตว์เหล่านั้นจึงไม่ได้ให้ทานก่อนบริโภค อนึ่ง มลทินคือความตระหนี่จึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น.
-บาลี ขุ. ขุ. ๒๕/๒๔๓/๒๐๔.
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
เมื่อมีความสงสัย หรือคลางแคลงใจในตัวพระภิกษุสงฆ์
ก็ควรทำเยี่ยงอย่างบัณฑิตในกาลก่อนสิ ถึงจะสมกับที่เป็นชาวพุทธ
ไม่ใช่เชื่อถือตามข่าวลือที่ปลอมปนข้อมูลมาด้วยความอคติ
แล้วบัณฑิตในกาลก่อนเขาทำอย่างไร เมื่อเกิดความสงสัย
"หมอชีวกได้ยินเขากล่าวว่าพระพุทธเจ้าสั่งให้คนทั้งหลายฆ่าสัตว์เพื่อทำอาหารมาถวาย"
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน
หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ยิน ได้ฟังคำที่เขากล่าวมาว่า...
ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม
พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่
ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้
ได้ชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หรือกล่าวบิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์หรือไม่
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ผู้ที่กล่าวอย่างนั้นได้ชื่อว่ากล่าวตู่เรา
(บิดเบือน) แล้วพระองค์ก็ชี้แจงไปตามลำดับ จนทำให้หมอชีวกรู้เห็นตรงไปตามความจริง
เกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรม
ปัจจุบันสื่อบางสำนัก พยายามประโคมข่าวเกี่ยวกับการกระทำของพระในทางเสีย
ๆ หาย ๆ สร้างความเข้าใจผิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ข่าวในด้านดีก็มีอยู่ถมถืด
ไม่รู้ว่ามีเจตนาแอบแฝงทำลายศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อพระรัตนตรัยหรือเปล่า
เพราะวิธีการนำเสนอข้อมูลออกแนวตั้งใจตัดต่อ
แก้ไขเพื่อบิดเบือนข้อมูลให้คนเกิดความเข้าใจผิดซึ่งการกระทำเช่นนี้ส่งผลต่อศรัทธาของชาวพุทธมาก
จริงอยู่การรับข้อมูลช่วงแรกอาจยังไม่บักใจเชื่อ
แต่เมื่อเห็นข้อมูลที่บิดเบือนบ่อยๆ ชาวพุทธก็เริ่มเกิดความสงสัย
พร้อมกับตั้งคำถามต่างๆ
ถ้าชาวพุทธเป็นคนยึดหลัก
มีเหตุผลก็เข้าไปถามผู้รู้หรือตัวเจ้าของเรื่องที่ถูกกล่าวโทษ
แต่ก็มีบางคนที่ตัดสินทันที พอตัดสินทันทีก็เริ่มด่า เริ่มแชร์ข้อมูล
ทั้งที่ตนเองก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร กลายเป็นบาปกรรมติดตัวไปเปล่าๆ
เพราะฉะนั้นแล้วอย่าพึ่งด่วนสรุปหรือปักใจเชื่อทันที เราชาวพุทธควรยึดหลักกาลามสูตร
และปฏิบัติต่อพระรัตนตรัยด้วยความเคารพ แล้วบุญกุศลนี้จะค่อยปกป้องให้เรารอดพ้นจากภัยพาลทั้งหลาย
จะเดินทางไปในที่แห่งหนตำบลใดก็มีแต่คนต้อนรับยกย่องสรรเสริญ ด้วยอำนาจแห่งบุญที่ได้ปฏิบัติดีนี้
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ชาวต่างประเทศที่เดินทางมาท่องเที่ยว
ทัศนศึกษาในประเทศไทย
ถ้าหากจะชมความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา
หาได้ยากที่จะมีใครเข้าไปห้องสมุดเพื่อค้นพระไตรปิฎก
แต่ส่วนใหญ่มักจะไปชมวัดวาอาราม
หรือวิหาร เจดีย์ต่างๆ
เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่แสดงให้เห็นความเป็นอารยะ
มีศิลปะวัฒนธรรม
อันสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวไทย
ที่เป็นวิถีชีวิตแบบชาวพุทธที่งดงาม
มีความเอื้ออารี
ละเอียดอ่อน
รักสงบ และฝักใฝ่ในความดี
ตลอดจนรักการสั่งสมบุญกุศลที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากพระพุทธศาสนา
-----------
นอกจากนี้
ยังสะท้อนให้เห็นความศรัทธาอันสูงส่ง
ของบรรพบุรุษชาวพุทธไทย
ที่ร่วมใจกันสร้างศิลปวัตถุ
ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม
วิหาร เจดีย์ ที่มีความวิจิตรอลังการ
หรือมีความโอ่อ่าสง่างาม
ที่ล้วนมีจุดมุ่งหมายคือ
เมื่อได้เห็นแล้ว
จักเป็นการเชิดชูจิตใจให้ดีงามสูงส่ง
ให้ผู้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา
และย่อมน้อมใจไปถึงสรณะอันประเสริฐคือพระรัตนตรัย
เพราะเป็นความจริงที่ว่า...คนจะเจริญรุ่งเรืองมักชอบทำแต่สิ่งดีๆ
ชอบคิดแต่เรื่องดีๆ
และคนคิดดีๆย่อมจะได้เห็นสิ่งดีๆ
และมีแต่ภาพดีๆอยู่ในใจ
หาใช่ภาพสกปรกลามก
ที่ทำให้ใจคิดแต่เรื่องสกปรกลามกแต่อย่างใด
-------------
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่
เราควรจะภาคภูมิใจในวัดวาอาราม
วิหารเจดีย์ที่ได้เห็น
ไม่ว่าจะเป็นวัดอรุณราชวราราม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
วัดพระเชตุพนฯ
หรือวัดที่สร้างในยุคปัจจุบัน
เช่น วัดร่องขุน
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างหรือภาพศิลปวัตถุ
ที่แสดงให้เห็นถึงความดีและยึดมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และจักร่วมกันรักษาให้ยั่งยืนยาวนานต่อไป
เพราะการได้เห็นภาพดีๆมีค่ากว่าล้านคำ....
Cr.Psomsak
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
บทความยอดนิยม
-
ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกรู้ว่าผลแห่ง "ทาน" ที่ตนให้จะส่งผลมากมายขนาดไหน ความ "ตระหนี่" จะไม่เกิดขึ้นในใจของใครๆ เลยแม้แต่น...
-
ศาสนาทุกศาสนา แต่เดิมล้วนมุ้งสอนให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปราศจากการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงขอ...
-
เวลาขึ้นบ้านใหม่ หรือมีงานมงคลพิธีต่าง ๆ คนไทยมักจะนิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนกลับหลวงปู่ หลวงพ่อก็มักจะเขียนค...
-
ในกาลนานมาแล้ว เศรษฐีผู้หนึ่งมีภรรยาเป็นหมัน ต่อมาเขาได้นำหญิงอีกคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เหตุการณ์โกลาหลเกิดขึ้นเมื่อภรรยาน้อยตั้งท้อง วัน...
-
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ให้สามารถอยู่ได้ยาวนานมากที่สุด พระพุท...
-
การสังคายนาครั้งที่ 3 การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ . ศ . 236 มีปรากฏในอรรถกถา มหาวิภังค์ (วิ.มหา. อ. (ไทย) 1/ 93-11...
-
ผู้ที่ขัดขวางการให้ทานของผู้อื่นได้ชื่อว่าทำความเสื่อม ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลถึง 3 คน ได้แก่ 1) ทำความเสื่อมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตั้งใจ...
-
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์ 2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอย...
-
การสังคายนาครั้งที่ 1 การสังคายนาในครั้งพุทธกาลมีปรากฏในสังคีติสูตร (ที.ปา. (ไทย) 10/ 296-349/ 247-366 ) กล่าวไว้ว่า พระสารีบุตรได...
-
ชาวพุทธเถรวาท คือ ชาวพุทธที่ยึดมั่นในวาทะของพระเถระ ซึ่งก็คือพระอรหันต์ 500 รูป ที่ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือ...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.